Page 213 -
P. 213
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
207
การเทียบเคียงมาตรฐานเท่านั้น ขณะนี้อยู่ในขั้น (Peer review)(http://www2.globalgap.org/applic_stand.html,
2552)
การเข้าสู่ระบบการผลิตพริกปลอดภัยทําให้เกิดต้นทุนสองอย่าง ซึ่งไม่เคยมีภาคส่วนใดต้องแบบกรับ
ภาระมาก่อน นั่นคือ ค่าตรวจสารเคมีตกค้างและค่าตรวจแปลง ปัจจุบันผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการแบบรับภาระ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อจูงใจให้เกษตรกรผลิตในระบบปลอดภัย แต่ในระยะยาวผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการจะ
ยอมรับแบกรับภาระนี้ต่อไปหรือไม่ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แนวทางหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นทางออกของปัญหานี้
คือ การช่วยกันจ่าย โดยค่อยๆ ลดในส่วนผู้ส่งออก และไปเพิ่มในส่วนของกลุ่มเกษตรกร เช่น ปีแรก ผู้ส่งออก
จ่าย 100% ปีที่ 2-5 ผู้ส่งออกจ่าย 90%, 80%, 70%, 60% และปีต่อๆ ไปสัดส่วนจะเป็น 50:50 ซึ่งจะช่วยให้กลุ่ม
เกษตรกรค่อยๆ ปรับตัวกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สําหรับค่าตรวจแปลงขณะนี้รัฐเป็นผู้แบกรับภาระ แต่อย่างไรก็
ตาม หากจะส่งผลผลิตไปยังกลุ่มประเทศยุโรป จะต้องตรวจโดยใช้มาตรฐานของ GlobalGAP ซึ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งอาจทําให้เกษตรกรปฏิเสธที่ผลิตในระบบผลิตพริก
ปลอดภัย หลังจากที่ได้ยอมรับไปแล้วในตอนแรก เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
ยุทธศาสตร์การคัดเลือก รวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้มีศักยภาพในการปลูกพริกระบบ
ปลอดภัย
การดําเนินการที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ภาครัฐจําเป็นที่จะต้องเร่งตอบสนองนโยบายรัฐในเชิงปริมาณใน
การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ผลิตพริกในระบบ GAP โดยไม่ได้คํานึงถึงความพร้อมของบุคลากรและเกษตรกร
ในพื้นที่ ที่สําคัญยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งออก ผู้ประกอบการหรือตลาดไว้ล่วงหน้า ตลอดจนไม่มี
การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริก เป็นเหตุให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในเรื่องราคา เนื่องจากผลผลิตที่ได้ก็ถูก
ส่งไปขายในตลาดเดียวกับพริกที่ปลูกทั่วไปในราคาที่ไม่แตกต่างกัน เกษตรกรจึงมองไม่เห็นว่ามีความจําเป็น
ที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้ยุ่งยาก หรือมองไม่เห็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการปลูกแบบเดิม
การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้มีศักยภาพในการปลูกพริกปลอดภัยจึงมีความสําคัญเป็น
ลําดับแรก เนื่องจากจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสามารถให้ความรู้และติดตามการปฏิบัติเพื่อให้
คําแนะนําแก่กลุ่มเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถตัดสินใจในการให้
ความช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุนได้ง่ายกว่าที่จะให้แก่เกษตรกรแต่ละราย ตลอดจนการรวบรวมและควบคุม
ความปลอดภัยของผลผลิตพริกของเกษตรกรโดยกลุ่มเกษตรกรจะทําได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผู้
ส่งออกจะเข้าไปรวบรวมและควบคุมแต่ละรายด้วยตนเอง
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่และเกษตรกรผู้นํามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่ง ในการคัดเลือกและ
รวมกลุ่มเกษตรที่มีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตพริกปลอดภัย กลุ่มละ
ประมาณ 10-15 ราย ตําบลละ 1 กลุ่มก่อน ที่สําคัญต้องเป็นรายที่มีความต้องการจะปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการ
ผลิตพริกปลอดภัยอย่างแท้จริง ไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณภาพ โดยใน อําเภอเมือง ควรเลือก หมู่ 2 ตําบลบ้าน
ยางก่อน เนื่องจากมีเกษตรกรปลูกพริกมากเกือบจะทุกหลังคาเรือน และที่ อําเภอกําแพงแสน ควรเลือกหมู่ 7