Page 148 -
P. 148

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             126



              ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการแก้ปัญหาโดยไปนําผลผลิตพริกสดจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือและ

             ตะวันออกเฉียงเหนือ นําเข้าพริกแห้งจากจีน ซื้อเก็บตุนไว้ในช่วงที่ผลผลิตมีมาก ซึ่งทําให้มีต้นทุนค่าขนส่ง
             หรือต้นทุนในการเก็บรักษาสูง นอกจากนี้ ในการซื้อขายผลผลิตพริกสด ยังมีการทําสัญญาซื้อขายในราคา

             ประกัน โดยผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการจะส่งผลผลิตพริกไปตลาดมาเลเซียหรือสิงคโปร์ซึ่งมีความเข้มงวดน้อย

             กว่า ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการบางรายแก้ปัญหาด้วยการลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการของตนเอง  และสุ่มตัวอย่าง
             ตรวจจากกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดค่าใช้จ่าย   ค่าใช้จ่ายในการตรวจสารเคมีจะกลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้

             ส่งออกและเกษตรกรในอนาคต


                     5.3.4 หน่วยงานภาครัฐ

                    ในระดับนโยบาย มีตั้งเป้ าหมายในการรับรองแปลงเกษตรกรที่ผลิตภายใต้ระบบปลอดภัย (Q) ในเชิง

             ปริมาณสูงเกินความเป็นจริง (2 แสนราย) ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกับกําลังคนและงบประมาณ ในการส่งเสริม

             ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการตรวจระดับการปฏิบัติของเกษตรกรโดยกรมวิชาการเกษตร
             แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ขาดความชัดเจนไม่มีการจําแนกเกษตรกรตามความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไปสู่

             การผลิตระบบปลอดภัย GAP แม้ว่าระบบจะเป็นมาตรฐานแล้วแต่ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรในบางส่วน

             ยังไม่เป็นไปตามข้อกําหนดและเงื่อนไข รวมทั้งจํานวนผู้ตรวจแปลงไม่เพียงพอ  ผู้ตรวจแปลงขาดความรู้และ
             ทักษะในการตรวจแปลง ขาดงบประมาณในการไปตรวจ เช่น  พาหนะ นํ้ามันเชื้อเพลิง และในการทํางานจะ

             เสียเวลามากในการหาตําแหน่งแปลง ดังนั้นจะต้องมีการอบรมให้ความรู้กับผู้ตรวจแปลงให้มีคุณภาพมากขึ้น

             และจํานวนคนเพิ่มขึ้น และในการปฏิบัติงานในพื้นที่หลายหน่วยงานต้องทํางานแบบบูรณาการ เพื่อลด
             ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และใช้เวลาอย่างคุ้มค่า


              ในระดับปฏิบัติ      หลังจากให้ความรู้ในการผลิตตามระบบปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่/นักวิชาการยัง ขาด

             การติดตามการปฏิบัติในแปลงของเกษตรกรภายหลังการฝึกอบรม  อาจจะต้องใช้ระบบพี่เลี้ยงเกษตรกร หรือ
             การรวมกลุ่ม และการติดตามผลโดยใช้ระบบกลุ่ม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตในระบบ

             ปลอดภัย


             5.4 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                    ในระดับพื้นที่

                    5.4.1 ยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วน (Strategic Partnership)


              จังหวัดนครปฐมควรจะต้องวางยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วน      (Strategic Partnership) ระหว่างผู้ส่งออก

             ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ในรูปแบบการทําการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา  (Contract Farming) โดยมีการ

             ประกันราคาขั้นตํ่าแต่ไม่เป็นราคาที่ตายตัวตลอดฤดูกาลผลิต จะต้องมีความยืดหยุ่นในบางช่วงที่ราคาผลผลิต
             ในท้องตลาดสูงกว่าราคาประกันขั้นตํ่ามาก ผู้รับซื้ออาจจะต้องมีการปรับราคาขึ้นให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153