Page 150 -
P. 150

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             128



                    การนํายุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วนในระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐมไปทําความเข้าใจ

             กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะเป็นการแก้ปัญหาของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืนในระยะยาว และเป็นการผนึกกําลัง
             กันของทุกภาคส่วนในการปรับตัวเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก


              อย่างไรก็ตาม      แบบจําลองยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วนระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐมที่
             นําเสนอ จะไม่สามารถความประสบผลสําเร็จได้เลย หากทุกภาคส่วนขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน

             โดยเฉพาะระหว่างเกษตรกรและผู้ส่งออก จังหวัดนครปฐมจะต้องทําให้ทุกภาคส่วนมองเห็นว่า หมดเวลา

             แล้วที่จะช่วงชิงความได้เปรียบซึ่งกันและกัน ทุกภาคส่วนจะ ต้องมาร่วมมือกันก่อนจะสายเกินไปที่จะเดินไป

             พร้อมๆ กันเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่น่ากลัว เช่น จีน  ซึ่งขณะนี้ GlobalG.A.P.  (EurepGAP  เดิม) ได้
             รับรองการเทียบเคียงมาตรฐานของ  China Standard and Certification Rule (ChinaGAP) ในขั้นการรับรอง

             แบบมีเงื่อนไข (Provisionally  approved  standards) แล้ว (http://www2.globalgap.org/prov_app_stand.html,

             2552) ในขณะที่มาตรฐานโดยภาคเอกชนของประเทศไทย (ThaiGAP) ยังอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครเข้ารับรอง

             การเทียบเคียงมาตรฐานเท่านั้น  ขณะนี้อยู่ในขั้น  (Peer  review)  (http://www2.globalgap.org/applic_
             stand.html, 2552)


                    การเข้าสู่ระบบการผลิตพริกปลอดภัยทําให้เกิดต้นทุ นสองอย่าง ซึ่งไม่เคยมีภาคส่วนใดต้องแบก
             รับภาระมาก่อน นั่นคือ ค่าตรวจสารเคมีตกค้างและค่าตรวจแปลง ปัจจุบันผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการแบก

             รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อจูงใจให้เกษตรกรผลิตในระบบปลอดภัย แต่ในระยะยาวผู้ส่งออก/

             ผู้ประกอบการจะยอมรับแบกรับภาระนี้ต่อไปหรือไม่ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แนวทางหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น
             ทางออกของปัญหานี้ คือ การช่วยกันจ่าย โดยค่อยๆ ลดในส่วนผู้ส่งออก และไปเพิ่มในส่วนของกลุ่ม

             เกษตรกร เช่น ปีแรก ผู้ส่งออกจ่าย 100% ปีที่ 2-5 ผู้ส่งออกจ่าย 90%, 80%, 70%, 60% และปีต่อๆ ไปสัดส่วน

             จะเป็น 50:50 ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรค่อยๆ ปรับตัวกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สําหรับค่าตรวจแปลงขณะนี้รัฐ
             เป็นผู้แบกรับภาระ แต่อย่างไรก็ตาม หากจะส่งผลผลิตไปยังกลุ่มประเทศยุโรป จะต้องตรวจโดยใช้มาตรฐาน

             ของ GlobalGAP ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งอาจทําให้เกษตรกรปฏิเสธที่ผลิต

             ในระบบผลิตพริกปลอดภัย หลังจากที่ได้ยอมรับไปแล้วในตอนแรก เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระ

             ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้

                    5.4.2 ยุทธศาสตร์การคัดเลือก รวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้มีศักยภาพในการปลูกพริก

             ระบบปลอดภัย

              การดําเนินการที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ภาครัฐจําเป็นที่จะต้องเร่งตอบสนองนโยบายรัฐในเชิงปริมาณใน

             การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ผลิตพริกในระบบ GAP โดยไม่ได้คํานึงถึงความพร้อมของบุคลากรและเกษตรกร

             ในพื้นที่ ที่สําคัญยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งออก ผู้ประกอบการหรือตลาดไว้ล่วงหน้า ตลอดจนไม่มี
             การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริก เป็นเหตุให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในเรื่องราคา เนื่องจากผลผลิตที่ได้ก็ถูก
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155