Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
127
เพราะหากผู้รับซื้อไม่ปรับราคาให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะ นําผลผลิตไปขายในท้องตลาดเพื่อได้
ราคาที่สูงกว่า
ผลผลิตที่ตกเกรดจะต้องมีแหล่งรองรับและขายได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป แนวทางหนึ่งที่
สามารถทําได้ คือ บริษัทสวิฟท์ และ หจก. ชัชวาลย์ฯ คัดพริกสดส่งออกในราคาประกัน ส่วนพริกที่ตกเกรด
อาจส่งขายต่อไปให้กับ หจก.นํ้าพริกแม่ศรี หรือแม่เล็ก(สุบิน)ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เพื่อแปรรูปเป็นพริก
แกงหรือนํ้าพริกต่อไป ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจสารเคมีตกค้าง เพราะไม่จําเป็นต้องตรวจซํ้า
อีก หรือขายให้กับผู้ประกอบการอื่นๆ ของจังหวัดนครปฐม เช่น โต๊ะจีน ตลาดในประเทศ
นอกจากนี้จังหวัดนครปฐมขอความร่วมมือจากตลาดปฐมมงคลและตลาดทุ่งพระเมรุ ในการจัดแยก
โซนสินค้าผักปลอดภัย ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นพื้นที่เล็กๆ โดยจะต้องมีตรารับรองมาตรฐานความปลอดภัย
(Q) ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และมีการควบคุมให้ผักที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยจริงๆ เท่านั้นที่สามารถเข้าสู่
โซนนี้ได้ ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังในขั้นนี้ก็คือ การสวม Q หรือนําพริกที่ไม่ได้ปลูกแบบทั่วไปมาขายโดยใช้
ใบรับรองของพริกที่ปลูกในระบบปลอดภัย (การสวม Q) ดังนั้น การสร้างกลไกลในการตรวจสอบย้อนกลับ
จึงมีความจําเป็นและสําคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้จะต้องมีบทลงโทษที่เด็ดขาด เช่น ยกเลิกสัญญาการเช่าแผงหาก
พบว่ามีการสวม Q (ภาพที่ 5-1)
จินดา ผู้รวบรวมผลผลิต ตลาด
อ . กพส . ในพื้นที่ ตลาดในประเทศ มาเลย์
สิงคโปร์
Super hot
อ . กพส . สวิฟท์ ตลาด
EU, JP,
แม่ศรี
โต๊ะจีน ผู้บริโภค แม่เล็ก USA,
etc. AU, NZ,
etc.
Super hot ชัชวาลย์
อ . เมือง
ตลาด
จินดา ผู้รวบรวมผลผลิต มาเลย์เซีย
อ . เมือง ในพื้นที่ ตลาดในประเทศ สิงคโปร์
เส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่
เส้นทางเดิม
ภาพที่ 5-1 ยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วนระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม