Page 144 -
P. 144

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             122



             เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ยังมองไม่เห็นว่าการขาดการรวมกลุ่มเป็นปัญหา แต่ยังคงมุ่งที่จะแก้ปัญหาเรื่อง โรค

             และแมลง และราคาผลผลิตเพียงอย่างเดียว

                    สําหรับความต้องการความช่วยเหลือ ของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีความต้องการคล้ายคลึงกัน คือ

             ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาโรคและแมลง ประกัน/พยุงราคา และจัดหาปัจจัยการผลิตราคาตํ่า เกษตรกรกลุ่ม
             GAP ยังคงต้องการความรู้เรื่อง การปลูกพริกระบบปลอดภัย (GAP)  ในขณะที่เกษตรกร Non-GAP มองว่าไม่

             จําเป็นต้องเรียนรู้ระบบใหม่ และถ้าจะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบปลอดภัย เกษตรกรยังไม่มีความรู้และคิดว่า

             ขั้นตอนการผลิตน่าจะมีความยุ่งยากมากกว่า อีกทั้งเกษตรกรมีปัญหาเรื่อง เงินลงทุนและตลาดรับซื้อที่

             แน่นอนสําหรับพริกปลอดภัย เพราะระบบเดิมที่ทําอยู่สามารถขอกู้เงินลงทุนจากเถ้าแก่ /ผู้รวบรวมผลผลิต มา
             ลงทุนก่อนได้ และเถ้าแก่ก็รับซื้อผลผลิตทั้งหมดโดยไม่มีการคัดคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรเองมีความเชื่อว่า

             ปัญหาโรคและแมลงในระบบการผลิตพริกปลอดภัยน่าจะมีมากกว่า เนื่องจากมีการลดการใช้สารเคมี  ใช้ตาม

             ความจําเป็นและใช้อย่างมีเหตุผล หรือใช้ชีววิธีหรือสารชีวภาพทดแทนซึ่งประสิทธิภาพสู้สารเคมีไม่ได้

                    เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือ ในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพริกระบบปลอดภัย  โดยมองว่าอันดับ

             แรกคือ ต้องการความรู้ มีแหล่งเงินทุน และมีการประกัน/พยุงราคา ควรมีการจัดหาปัจจัยการผลิตราคาตํ่า เช่น

             ปุ๋ ยชีวภาพ สารกําจัดวัชพืชชีวภาพ สารกําจัดโรคและแมลงชีวภาพ ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ ควรมีการสํารวจ
             ความต้องการของเกษตรกรก่อนว่ามีใครบ้างที่ต้องการรวมกลุ่มเพื่อผลิตพริกในระบบปลอดภัย และ

             สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มในพื้นที่เพราะหากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงยังคงใช้สารเคมี โรคและแมลงก็จะ

             มาระบาดในแปลงที่ปลูกในระบบปลอดภัย

             5.2 การเชื่อมโยงความรู้/เทคโนโลยี ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม


                     5.2.1 แหล่งความรู้/เทคโนโลยี และการนําไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร

               เกษตรกรกลุ่ม      GAP  ส่วนใหญ่ต้องการความรู้จากแหล่งต่างๆ ลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1)

             เพื่อนเกษตรกร (2) โทรทัศน์ (3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร/นักวิชาการเกษตร และนักวิชาการ/อาจารย์จาก

             สถาบันการศึกษา (4) ญาติพี่น้องและร้านเคมีการเกษตร (5) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ และ (6) ผู้นํา
             ชุมชนและวารสารการเกษตร เป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมเอกชน กลุ่ม/เครือข่าย และวิทยุ

             เกษตรกรมีความต้องการในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า

               แหล่งความรู้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการมากแต่กลับได้รับน้อยกว่าความต้องการมาก ได้แก่

             (1) นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (2) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (3) วารสารทางการเกษตร

             (4) กลุ่ม/เครือข่าย และ (5) ผู้นําชุมชน จะเห็นได้ว่าการได้รับความรู้จากกลุ่มอยู่ในระดับตํ่ามาก

              การนําความรู้ที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ พบว่า ระดับการใช้ประโยชน์ความรู้ที่ได้รับ

             จากแหล่งต่างๆ เกือบทุกแหล่งอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น เพื่อนเกษตรกรแหล่งเดียวที่อยู่ในระดับมาก  เป็น
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149