Page 143 -
P. 143

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         121



                 ปัญหาต่างๆในการปลูกพริก  เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทุกโอกาสอยู่ในระดับมาก แต่ในหมู่บ้าน/

                 ตําบลของเกษตรกรยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาการปลูกพริกในหมู่บ้าน/ตําบล  หรือมีกลุ่มผู้ผลิตพริก
                 ปลอดภัยอยู่น้อย ชี้ให้เห็นว่าระบบสังคมหมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรขาดการรวมกลุ่มผู้ปลูกพริกซึ่งสะท้อน

                 จากคําให้สัมภาษณ์ของเกษตรกรที่ว่า “ต่างคนต่างทํา”

                        3) การเข้าถึงความรู้ในการปลูกพริกระบบปลอดภัย


                        เกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป  มีการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการให้ความรู้ในการผลิตพริกปลอดภัย

                 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จในการผลิตพริกปลอดภัย    และสอบถามข้อมูล

                 เพิ่มเติมจากแหล่งวิชาการอยู่ในระดับน้อยที่สุด ซึ่งส่งผลการรับรู้ความรู้ในการผลิตพริกระบบปลอดภัยของ
                 เกษตรกร  เนื่องจากขาดการเข้าหาช่องทางที่จะได้รับความรู้


                        4) ความคิดเห็นต่อความสําคัญของการผลิตพริกปลอดภัย

                  เกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป มีความเห็นต่อความสําคัญของการผลิตพริกปลอดภัยว่า  มีความ

                 ปลอดภัยต่อร่างกายตนเอง  มีความปลอดภัยของผลผลิตต่อผู้บริโภค  และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม    (ดิน นํ้า
                 อากาศ) เกิดความยั่งยืนในการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าเกษตรกรได้ตระหนักถึงความปลอดภัยทั้ง

                 ต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  และต่อสภาพแวดล้อม  เกษตรกรเห็นว่า  การผลิตพริกปลอดภัยเป็นการสร้างความมั่นคง

                 ในการประกอบอาชีพระดับมาก เพราะการผลิตพริกปลอดภัยมีตลาดรองรับและราคาที่น่าพอใจ  ส่วนการ

                 ปลูกพริกปลอดภัยสามารถทําเพิ่มเติมจากการปฏิบัติอยู่เดิม  การผลิตพริกปลอดภัยมีความยุ่งยาก  และ
                 เกษตรกรอยากทดลองปลูกในแปลงเล็กๆ ตามระบบการผลิตปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม

                 เกษตรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไปเห็นเพื่อนเกษตรกรด้วยกันปลูกพริกในระบบปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นน้อย

                 หรือเกษตรกรแทบจะไม่เคยเห็นเพื่อนเกษตรกรด้วยกันมีการผลิตพริกระบบปลอดภัยหรือแทบไม่มี จึงทําให้

                 ไม่เคยเห็นตัวอย่างของเกษตรกรที่ผลิตพริกปลอดภัยเป็นอย่างไร คุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ หรือบางรายเห็น
                 แต่ก็มองไม่เห็นว่าการปลูกพริกระบบปลอดภัยจะดีกว่าหรือแตกต่างจากวิธีการปลูกของตนอย่างไร  เนื่องจาก

                 มีวิธีการที่คล้ายคลึงกัน แม้กระนั้นเกษตรกรยังคงมีความคิดที่จะเปลี่ยนมาผลิตพริกระบบปลอดภัยในระดับ

                 มาก
                        ดังนั้นการที่จะเสริมแรงให้เกษตรกรยอมรับการผลิตพริกปลอดภัยจะต้องมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง

                 ประกอบกัน ได้แก่ 1) การแก้ปัญหาโรค-แมลงและราคาผลผลิตที่ตกตํ่า 2) การให้ความรู้เรื่องการผลิตพริก

                 ระบบปลอดภัย และ3) การรวมกลุ่ม และการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร


                        5.1.5 ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม

                  เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่อง โรคและแมลง ปัจจัยการผลิต และราคา

                 ผลผลิต เกษตรกรกลุ่ม GAP  มีความคิดเห็นว่า การขาดการรวมกลุ่มเป็นปัญหาในการต่อรองราคาและปัจจัย

                 การผลิต และยังคงขาดความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ในเรื่องการผลิตพริกระบบปลอดภัย (  GAP)  ในขณะที่
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148