Page 141 -
P. 141
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิตพริกจังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่อําเภอกําแพงแสน อําเภอเมือง และอําเภอดอนตูม กลุ่มชุดดิน ระบบนํ้ามี
ความเหมาะสมในการปลูกพริก เกษตรกรมีการปลูกพริกในระบบการผลิตพริกปลอดภัย (กลุ่ม GAP) และ
การปลูกพริกแบบทั่วไป (กลุ่ม Non-GAP) ระดับการศึกษาและการเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรน่าจะเป็น
เหตุผลที่ทําให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยในระบบ GAP เกษตรกรกลุ่ม GAP มี
ประสบการณ์ในการปลูกพริกนานกว่า (15 ปี และ 13 ปี) มีแรงงานเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (2 คน) ซึ่งทําให้
เกษตรกรมีปัญหาด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยเฉลี่ยจะปลูกพริกประมาณ 2.50 ไร่ และเกษตรกรกว่า 1 ใน
3 เช่าพื้นที่ในการเพาะปลูก
5.1.1 ระบบการปลูกและการจัดการผลผลิต
การปลูกพริกของเกษตรกรที่พบในพื้นที่ศึกษามีอยู่ 2 ระบบ คือ 1) ระบบการปลูกพริกหมุนเวียนกับ
การปลูกผักชนิดอื่น (Crop rotation) 2) ระบบการปลูกพริกร่วมกับผักชนิดอื่นในแปลงเดียวกัน ทั้งในระหว่าง
แถวพริก (Intercropping) และหมุนเวียนกับผักชนิดอื่นหลังตัดต้นพริกทิ้ง (Crop rotation) ส่วนใหญ่จะปลูก
ในระยะเวลาใกล้กันในช่วงเดือนมกราคม และขายผลผลิตพริกให้ผู้รวมรวมผลผลิตในหมู่บ้านในช่วงเดือน
เมษายน-ตุลาคม เกษตรกรทั้งหมดขายผลผลิตพริกสด โดยไม่มีการแปรรูป โดยมีผู้รวบรวมผลผลิตมารับซื้อที่
แปลงปลูกของเกษตรกร
5.1.2 ผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้ของเกษตรกร
ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP สูงกว่ากลุ่ม GAP ประมาณร้อยละ 15.28 แต่ต้นทุนการ
ผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับตํ่ากว่ากลุ่ม Non-GAP ประมาณร้อยละ 15.60 โดยมีค่าปุ๋ ย สารเคมี
ตํ่ากว่า กลุ่ม Non-GAP ถึงร้อยละ 7.43 แม้ว่ารายได้ต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP จะสูงกว่ากลุ่ม GAP
ประมาณ ร้อยละ 8.91 อย่างไรก็ตาม เมื่อดูที่รายได้สุทธิแล้วเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับมีรายได้สุทธิต่อไร่สูง
กว่าเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ถึง ร้อยละ 32.79 เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า
ค่าจ้างเก็บพริกเป็นต้นทุนที่สูงมาก และ คือ ร้อยละ 47 ในกลุ่ม GAP และร้อยละ 42 ในกลุ่ม Non-GAP ส่วน
ค่าปุ๋ ย สารเคมีมีต้นทุนสูงเป็นลําดับสอง คือ ร้อยละ 39.9 และร้อยละ 45.3
5.1.3 การยอมรับการผลิตพริกระบบปลอดภัยของกลุ่ม GAP
เกษตรกรยอมรับการปลูกพริกระบบปลอดภัย (GAP) โดยเกษตรกรมองถึงความปลอดภัยของตนเอง
และผู้บริโภคเป็นอันดับแรก รองลงไป ได้แก่ ราคาผลผลิตที่สูงกว่า ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า มีตลาดรับซื้อที่