Page 151 -
P. 151

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         129



                 ส่งไปขายในตลาดเดียวกับพริกที่ปลูกทั่วไปในราคาที่ไม่แตกต่างกัน เกษตรกรจึงมองไม่เห็นว่ามีความจําเป็น

                 ที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้ยุ่งยาก หรือมองไม่เห็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการปลูกแบบเดิม

                  การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้มีศักยภาพในการปลูกพริกปลอดภัยจึงมีความสําคัญเป็น

                 ลําดับแรก  เนื่องจากจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสามารถให้ความรู้และติดตามการปฏิบัติเพื่อให้
                 คําแนะนําแก่กลุ่มเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถตัดสินใจในการให้

                 ความช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุนได้ง่ายกว่าที่จะให้แก่เกษตรกรแต่ละราย ตลอดจนการรวบรวมและควบคุม

                 ความปลอดภัยของผลผลิตพริกของเกษตรกรโดยกลุ่มเกษตรกรจะทําได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผู้

                 ส่งออกจะเข้าไปรวบรวมและควบคุมแต่ละรายด้วยตนเอง

                  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่และเกษตรกรผู้นํามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่ง ในการคัดเลือกและ

                 รวมกลุ่มเกษตรที่มีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตพริกปลอดภัย กลุ่มละ

                 ประมาณ 10-15 ราย ตําบลละ 1 กลุ่มก่อน ที่สําคัญต้องเป็นรายที่มีความต้องการจะปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการ
                 ผลิตพริกปลอดภัยอย่างแท้จริง ไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณภาพ โดยใน อําเภอเมือง ควรเลือก หมู่ 2  ตําบลบ้าน

                 ยางก่อน เนื่องจากมีเกษตรกรปลูกพริกมากเกือบจะทุกหลังคาเรือน และที่  อําเภอกําแพงแสน ควรเลือกหมู่ 7

                 ตําบลหนองกระทุ่ม เนื่องจากมีผู้นําชุมชน (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) ที่กระตือรือร้นและเข้มแข็ง และกําลังทดลอง
                 ผลิตพริกระบบปลอดภัยเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูกบ้านด้วยตนเอง อี กทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มเกษตรผู้

                 ปลูกผักระบบปลอดภัยที่ ตําบลสระสี่มุมไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯ มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุน

                 ความรู้ทางวิชาการด้านการผลิตพริกในระบบปลอดภัย  (GAP)  ให้กลุ่มมีความเข้มแข็งในกิจกรรมการผลิต
                 โดยสมาชิกกลุ่มต้องมีเป้ าหมายที่ชัดเจนในการขายผลผลิตให้กับแหล่งรับซื้อที่เชื่อถือได้ในราคายุติธรรม


                        อุปสรรคที่จําเป็นที่ต้องนํามาพิจาราณาในขั้นนี้ คือ ปัจจุบันเกษตรกรบางรายขาดเงินในการลงทุน

                 และกู้ยืมจากผู้เก็บรวบรวมผลผลิตในพื้นที่ (เกษตร เรียกว่า “เถ้าแก่”) มาล่วงหน้าตั้งแต่ต้นฤดูกาลผลิตและหัก
                 คืนเมื่อขายผลผลิตให้เถ้าแก่ จังหวัดนครปฐมจะต้องร่วมมือกับผู้ส่งออกในการจัดหาเงินทุนเริ่มต้น (  Seed

                 money) ให้กับกลุ่มเกษตรกร บางส่วนอาจมาจากงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดในรูปปัจจัยการผลิตราคา

                 ถูกที่มีคุณภาพ บางส่วนอาจมาจากผู้ส่งออกในรูปเมล็ดพันธุ์และสารเคมีที่ประเทศผู้นําเข้าอนุญาตให้ใช้ใน

                 รูปแบบเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยตํ่า ( Soft loan) (อาจจะ 1-2 ฤดูปลูก) ที่กล่าวมานี้เป็นกรณีที่เกษตรกรต้องการ
                 ปรับเปลี่ยนไปจากการปลูกพันธุ์จินดาไปสู่การปลูกพันธุ์ Super hot เพื่อการส่งออก


                  สําหรับเกษตรกรที่ยังคงปลูกพันธุ์จินดาต่อไป ก็ยังคงต้องมีการรวมกลุ่มและส่งเสริมและสนับสนุน
                 วิชาการด้านการผลิตพริกในระบบปลอดภัย  (GAP) เช่นกัน  ในกลุ่มนี้ผู้รวบรวมผลผลิตจะมีบทบาทสําคัญ

                 อย่างยิ่งในการปรับเปลี่ย นเกษตรกรเข้าสู่ระบบปลอดภัย โดยผู้รวบรวมผลผลิตจะต้องตั้งเงื่อนไขว่าห้าม

                 เกษตรกรใช้สารเคมี ที่กรมวิชาการเกษตรประกาศห้ามใช้ พร้อมทั้งมอบเอกสารบัญชีรายชื่อสารเคมีต้องห้าม
                 แก่เกษตรกรลูกไร่ มิฉะนั้นจะไม่รับซื้อ ผลผลิตพริกเนื่องจากตลาดจะไม่รับซื้อ  ข่าวสารเดียวกันนี้อยากให้
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156