Page 85 -
P. 85
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
81
สรุปและข้อเสนอแนะ
ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพยากรณ์ปริมาณยอดขายของผลิตภัณฑ์ Sugar ester ของ
บริษัทกรณีศึกษา โดยศึกษาวิธีการพยากรณ์เพื่อหาวิธีที่ให้ค่าพยากรณ์ที่ถูกต้องมากที่สุด และน าผลการพยากรณ์
ประกอบการพิจารณาวางแผนการน าเข้าสินค้า รวมถึงศึกษา เปรียบเทียบนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อ
น าไปวางแผนการน าเข้าสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ต้นทุนรวมในการด าเนินงานต่ าลงและลดปริมาณ
สินค้าขาดมือได้ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ศึกษาอนุกรมเวลาของข้อมูลยอดขายสินค้า Sugar ester ปีพ.ศ. 2545 – 2549 โดยวิธีอนุกรม
เวลา 8 วิธี โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์คือโปรแกรม Crystal ball predictor ผลการศึกษาพบว่าวิธีการ
พยากรณ์ที่ดีที่สุดคือวิธี Holt-Winters' method for additive seasonal effects จึงสรุปว่ายอดขายมีองค์ประกอบ
แนวโน้มและองค์ประกอบฤดูกาล โดยยอดขายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นจึงน าค่าที่ได้จากการพยากรณ์ด้วย
วิธีนี้ไปใช้ประกอบการพิจารณาแผนการน าเข้าสินค้า Sugar ester
ส่วนที่ 2 ศึกษาการจัดการสินค้าคงคลัง โดยเลือกนโยบาย (s, S) เพื่อจัดระบบในการตรวจสอบสินค้า
คงคลังโดยค านวณปริมาณสินค้าคงคลังส ารอง จุดสั่งซื้อสินค้า และปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด ภายใต้ ระดับความ
เชื่อมั่นว่าจะมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการเท่ากับ 95% ซึ่งเป็นนโยบายของบริษัท จากการเปรียบเทียบต้นทุน
รวมของการใช้นโยบายแบบเดิมและแบบใหม่ในระยะเวลา 5 ปี (ปีพ.ศ. 2545 – 2549) ท าให้สรุปได้ว่าบริษัทควร
ใช้นโยบาย (s, S) ทดแทนวิธีเดิม เนื่องจากท าให้ต้นทุนรวมลดลง มีการสั่งซื้อน้อยครั้ง และไม่พบสินค้าขาดมือ
โดยบริษัทสามารถวางแผนปริมาณการน าเข้าสินค้า Sugar ester ในปีพ.ศ. 2550 ได้เมื่อใช้ความต้องการสินค้าที่
พยากรณ์ได้ร่วมกับนโยบายใหม่ โดย ถ้าปริมาณสินค้าคงคลังต่ ากว่า 933 กล่อง จะด าเนินการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา
เพื่อให้มีระดับสินค้าคงคลังเท่ากับ 1 ,828 กล่อง เพื่อป้องกันการขาดสินค้าคงคลังและมีสินค้าคงคลังเพียงพอต่อ
ความต้องการของลูกค้าในระหว่างการน าเข้าสินค้า ซึ่งถ้าบริษัทมีการนโยบายนี้ไปประยุกต์ใช้จริงจะสามารถลด
ต้นทุนรวมจากการน าเข้าสินค้าและสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการให้บริการและด้านราคา และ
สามารถเพิ่มผลก าไรให้กับบริษัทได้
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
ทรงศิริ แต้สมบัติ. 2549. การพยากรณ์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พัชรี ส าราญพิศ. 2548. การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์ ปริมาณการส่งออกและการผลิตสับปะรด
กระป๋อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Simchi-Levi, D., Kaminsky, R., and Simchi-Levi, E. 2003. Designing & Managing the Supply Chain:
nd
Concepts, Strategies and Case Studies. 2 ed. McGraw-Hill, Singapore.
th
Ragsdale, C. 2004. Spreadsheet Modeling & Decision Analysis. 4 ed. South-Western College
Publishing. Cincinnati.
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์