Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
77
การพยากรณ์ปริมาณความต้องการสินค้าด้วยโปรแกรม Crystal ball predictor
โปรแกรม Crystal ball predictor เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพยากรณ์ค่าในอนาคตจากข้อมูลอนุกรมเวลา
ในอดีต โดยมีวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาที่พิจารณา 8 วิธี โปรแกรมจะแสดงผลการค านวณการประเมินค่าของ
แต่ละวิธีการตามที่ผู้ใช้ต้องการ และผู้ใช้โปรแกรมสามารถคัดเลือกวิธี ที่ดีที่สุด ผลการวิเคราะห์ แสดงดังตารางที่ 1
พบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ Holt-Winters' method for additive seasonal effects พิจารณาจากค่า RMSE = 580.63
กิโลกรัม ที่ = 0.001, = 0.001, = 0.001 มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ าที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เมื่อ
พิจารณาค่า Theil's U เท่ากับ 0.582 ซึ่งน้อยกว่า 1 แสดงว่าวิธี Holt-Winters' method for additive seasonal
effects ให้ค่าพยากรณ์ที่ดีกว่าวิธีการพยากรณ์อย่างง่าย (Naïve method) จึงใช้วิธีพยากรณ์ดังกล่าวในการ วาง
แผนการน าเข้าสินค้าในล าดับต่อไป
ตารางที่ 1 ค่าเปรียบเทียบผลการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาแบบต่างๆ
Durbin- Theil's
Rank Method RMSE MAD MAPE Watson U
Best: Holt-Winters' Additive 580.63 435.67 14.36% 2.085 0.582
nd
2 : Holt-Winters' Multiplicative 592.54 438.28 14.02% 2 0.587
rd
3 : Seasonal Additive 626.01 482.36 15.57% 2.089 0.624
th
4 : Seasonal Multiplicative 636.55 491.76 15.56% 1.946 0.628
th
5 : Single Moving Average 735.52 576.79 17.36% 2.215 0.658
th
6 : Single Exponential Smoothing 747.82 571.52 18.70% 2.02 0.768
th
7 : Double Moving Average 789.64 610.12 18.20% 2.18 0.735
th
8 : Double Exponential Smoothing 846.34 658.39 21.73% 2.085 0.582
2. การศึกษารูปแบบระบบการตัดสินใจด้านสินค้าคงคลังและสินค้าคงคลังส ารอง (Safety stock)
ในการศึกษาระบบในการตัดสินใจด้านวัสดุคงคลัง ผู้วิจัยได้ศึกษาและพิจารณาน าระบบ การตรวจสอบ
สินค้าคงคลังแบบต่อเนื่อง โดยใช้นโยบาย (s, S) เนื่องจากสินค้ามีราคาสูงและเป็นสินค้าที่ส าคัญ ควรได้รับการ
ตรวจสอบอย่างสม่ าเสมอ โดยนโยบายนี้ก าหนดว่า ถ้าปริมาณสินค้าคงคลังเท่ากับหรือต่ ากว่าจุดสั่งซื้อ ( Reorder
point, s) จะด าเนินการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่ท าให้ระดับสินค้าคงคลังมีถึงระดับที่ตั้งไว้ ( Target inventory, S)
ปริมาณในการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะแปรผันตามจ านวนสินค้าคงคลังที่มีอยู่ ในการศึกษานี้จะท าการค านวณหาค่า
วัสดุคงคลังส ารอง ( Safety stock) และจุดสั่งซื้อ ( Reorder point) โดยพิจารณาการค านวณหาค่าจุดสั่งซื้อ
(Reorder point) ในอัตราความต้องการสินค้าคงคลังที่แปรผัน และเวลา น าในการเติมเต็มสินค้าหรือ การน าเข้า
สินค้า (Lead time, L) คงที่ เมื่อค านวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ยอดขายสินค้า Sugar ester
ระหว่างปีพ.ศ. 2545 – 2549 และตรวจสอบการกระจายของข้อมูลยอดขายด้วย Input Analyzer ของโปรแกรม
Arena 9.0 พบว่าข้อมูลยอดขายปีพ.ศ. 2545 – 2549 มีการกระจายแบบปกติเป็นเส้นโค้งระฆังคว่ าสมมาตรกัน
และมีค่าเฉลี่ย d = 3,300.78 กิโลกรัม ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () = 831.71 กิโลกรัม ระยะเวลาในการน าเข้า
สินค้า (L) = 2 เดือน และค่าระดับความเชื่อมั่นว่าจะมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ = 95% (บริษัทต้องการ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยยอมให้มีการขาด แคลนสินค้าคงคลังได้เพียง 5%) โดยมีค่า
z = 1.645
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์