Page 80 -
P. 80
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การวางแผนการน าเข้าสินค้า SUGAR ESTER
76
ค าน า
ปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้น าเข้าสินค้าประเภทวัตถุเจือปนอาหารหลากหลายชนิดจากต่างประเทศ
ซึ่งทางบริษัทได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนจ าหน่ายสินค้าในประเทศไทย โดยแต่ละเดือนบริษัทมีการวาง
แผนการน าเข้าสินค้าแต่ละชนิดจากแหล่งผลิตต่างๆ กัน เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น สินค้าโดย
ส่วนใหญ่น าเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งใช้เวลาในการขนส่งทางเรือประมาณ 20-30 วัน แต่สินค้าที่เป็นสินค้าหลัก
และมีระยะเวลาในการขนส่งนานคือสินค้า Sugar ester ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและมีลูกค้าใช้เป็นจ านวนมากซึ่ง
เป็นลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ในปัจจุบันบริษัทมีการวางแผนในการน าเข้าโดยจัดเก็บสินค้าคงคลังเท่ากับจ านวนที่
ลูกค้าสั่งซื้อรวมกับการคงคลังสินค้าส ารอง ( Safety stock) ส่วนหนึ่ง เพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ
ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ปัญหาคือบริษัทไม่สามารถด าเนินการจัดเก็บสินค้าไว้ในปริมาณมากได้ เนื่องจากสินค้ามี
ราคาสูงและมีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้าแต่ละคนจะมีการใช้สินค้าต่างชนิดกัน โดยสินค้าที่ถูกคัดเลือกมาศึกษาใน
ครั้งนี้คือสินค้าหลักของบริษัทที่มียอดขายและมูลค่าทางการตลาดสูง ดังนั้น จึงใช้ปริมาณรวมของสินค้าชนิดนี้เป็น
ตัวแบบในการวางแผนการน าเข้าในปัจจุบัน ส่วนชนิดที่มีการน าเข้าน้อยนั้นจะน าเข้าตามแผนการผลิตของลูกค้า
ในปริมาณที่ก าหนดเท่านั้น เนื่องจากแผนงานในปัจจุบันประสบปัญหาสินค้าคงคลังมีปริมาณน้อยกว่าค าสั่งซื้อของ
ลูกค้า ท าให้ต้องเลื่อนวันส่งสินค้าออกไปจากที่ก าหนดของเรือที่เข้าเทียบท่า จึงท าให้การส่งของล่าช้าออกไป
ดังนั้นผู้จัดท าจึงมีความสนใจปรับปรุงระบบการวางแผนการน าเข้าสินค้า Sugar Ester เพื่อลดปัญหาและน าเสนอ
แผนการน าเข้าสินค้าที่เหมาะสมและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเมื่อมีการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การด าเนินงานของบริษัทสามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วิธีการ
1. เก็บรวมรวมข้อมูลยอดขายสินค้า ปริมาณสินค้าคงคลัง และสถิติการน าเข้าสินค้า Sugar ester ของ
ปีพ.ศ. 2545 – 2549 และสร้างกราฟจากข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบและศึกษาค่าต่างๆ จากกราฟ
2. พยากรณ์ความต้องการสินค้าจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยโปรแกรม Crystal ball predictor จากนั้น
เลือกวิธีการพยากรณ์ที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบจากค่าความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ MAD และ RMSE เพื่อ
น าค่าพยากรณ์ที่ได้มาใช้ประกอบการพิจารณาแผนการน าเข้าสินค้า Sugar ester
3. ทดสอบประเภทของการแจกแจงข้อมูลโดยมีสมมติฐานว่าข้อมูลปริมาณยอดขายสินค้า Sugar ester
มีการแจกแจงแบบปกติ และค านวณหาค่าเฉลี่ยปริมาณยอดขายสินค้าของปีพ.ศ. 2545 – 2549 และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard deviation) ด้วย Input analyzer ในโปรแกรม Arena 9.0 เพื่อน าไปใช้ในการค านวณหาค่า
สินค้าคงคลังส ารอง (Safety stock) และจุดสั่งซื้อ (Reorder point) และปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด ( Maximum
inventory) และเปรียบเทียบต้นทุนรวมของการใช้นโยบายเดิมและนโยบายใหม่จากข้อมูลปีพ.ศ. 2545 – 2549
เพื่อคัดเลือกวิธีที่ดีที่สุด
4. น าค่าพยากรณ์ยอดขายปีพ.ศ. 2550 เพื่อน าไปค านวณค่าปริมาณสินค้าคงคลังส ารอง จุดสั่งซื้อ และ
ปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด เพื่อไปประกอบการพิจารณาปริมาณการน าเข้าสินค้าของปีพ.ศ. 2550
ผลและวิจารณ์
1. การวิเคราะห์อนุกรมเวลา
การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์การพยากรณ์ปริมาณยอดขายสินค้า Sugar ester ซึ่งเป็นอนุกรมเวลาราย
เดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2549 ด้วยการพยากรณ์และค านวณค่าวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ คือ MAD
และ RMSE และเลือกวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสม
พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ อธิพัฒน์ พัฒนะศิริ