Page 79 -
P. 79
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
75
การวางแผนการน าเข้าสินค้า SUGAR ESTER
IMPORTING PLANNING FOR SUGAR ESTER PRODUCTS
พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ อธิพัฒน์ พัฒนะศิริ
Pornthipa Ongkunaruk and Atipat Patanasiri
บทคัดย่อ
ปัจจุบันธุรกิจน าเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อจ าหน่ายให้กับผู้ผลิตในประเทศไทยจ าเป็นต้องมีการวาง
แผนการน าเข้าที่ดี เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าและเพื่อควบคุมต้นทุนในการน าเข้าและการ
เก็บสินค้าคงคลังให้ต่ าที่สุดโดยไม่ให้มีสินค้าขาดมือ จากการศึกษาพบว่า การวางแผนการน าเข้าสินค้าของบริษัท
กรณีศึกษาขาดระบบจึงท าให้พบปัญหาต่างๆ ได้แก่ มีสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่บางครั้งจัดเก็บ
สินค้ามากเกินไป ซึ่งท าให้เกิดความเสียหายกับบริษัททั้งในด้านความน่าเชื่อถือต่อบริษัทและต้นทุนในการจัดเก็บ
คงคลังที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จ าเป็น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อน าเสนอนโยบายสินค้าคงคลังเพื่อแก้ปัญหา
ดังกล่าวและน าไปวางแผนการน าเข้าสินค้าให้เป็นระบบและมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลสถิติการน าเข้า
สินค้า Sugar ester ของบริษัทย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี ท านายปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้าในปีพ.ศ.
2550 ด้วยโปรแกรม Crystal ball predictor และคัดเลือกวิธีการท านายที่ดีที่สุด จากโปรแกรม ข้อมูลที่ได้นี้
สามารถใช้ในการค านวณหาปริมาณสินค้าคงคลังส ารอง ( Safety stock) จุดสั่งซื้อสินค้า (Reorder point) และ
ปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด (Maximum inventory) เพื่อน าไปค านวณปริมาณการสั่งซื้อ ( Order quantity) เพื่อวาง
แผนการจัดการสินค้าคงคลังและการน าเข้าสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า
บริษัทสามารถวางแผนการน าเข้าสินค้าได้ดีขึ้น โดยสามารถลดจ านวนสินค้าขาดมือและลดต้นทุนรวมได้ หากน า
นโยบายสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่อง หรือนโยบาย ( s, S) ร่วมกับการพยากรณ์ปริมาณความต้องการสินค้ามาใช้
แทนนโยบายเดิม ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถแข่งขันด้านการให้บริการลูกค้าและราคาสินค้าในตลาดได้
ค าส าคัญ: การพยากรณ์, การจัดการสินค้าคงคลัง, การจัดหา
Keywords: Forecasting, Inventory management, Procurement
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์