Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                               การใช้ฐานข้อมูลเพื่อลดการสูญเสียในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตขนมถั่วอบกรอบ
               70

                    3.6 รายงานจ านวนพนักงานต่อแผนก

                       ใช้ข้อมูลจากตารางข้อมูลพนักงาน เขียนค าสั่ง Query  ผลที่ได้จาก Query คือ แผนก และจ านวนคน ซึ่ง
               ใช้สรุปจ านวนพนักงาน ณ เวลานั้นๆ

                    3.7 รายงานจ านวนชั่วโมงการท างานต่อสัปดาห์

                       ใช้ข้อมูลจากตารางข้อมูลพนักงาน ชั่วโมงการท างาน และอัตราค่าจ้างแรงงาน เขียนค าสั่ง  Query  ผลที่
               ได้จาก Query คือ รหัสพนักงาน ชื่อ-นามสกุล จ านวนชั่วโมงปกติ จ านวนชั่วโมงล่วงเวลา อัตราค่าตอบแทนเวลา
               ปกติ และอัตราค่าตอบแทนล่วงเวลา ในกรณีที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการทราบข้อมูลชั่วโมงท างาน ซึ่งสามารถก าหนด
               เป็นประจ าวัน/สัปดาห์/เดือนได้ตามต้องการ

               4.  ความถูกต้องของโปรแกรมฐานข้อมูล

                       จากผลการพัฒนาระบบฐานข้อมูล พบว่า   ในการจัดเก็บข้อมูลพนักงานและการผลิต ควรมีระบบ
               สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการสืบค้นข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และใช้เป็นต้นแบบในการจัดเก็บข้อมูลครั้ง
               ต่อไป ซึ่งผลการวัดประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศฐานข้อมูลพนักงานและการผลิต ได้แก่ การเขียนค าสั่ง

               Query  เรียกข้อมูล (ค่าจ้างแรงงานและ ผลิตภาพการผลิต) พบว่า ฐานข้อมูลที่ใช้สามารถค านวณค่าจ้างแรงงาน
               และผลิตภาพการผลิตได้อย่างแม่นย าภายในเวลารวดเร็ว และสามารถพิมพ์รายงานได้โดยตรง คาดว่าเมื่อน าไปใช้
               กับการปฏิบัติงานจริงสามารถให้การท างานมีความถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น ผู้บริหารและหัวหน้างานสามารถน า
               ผลการค านวณ ผลิตภาพการผลิตและปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิตน าไปวิเคราะห์สาเหตุ แนวทางการ
               แก้ไขในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท างานและลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตต่อไป

               5.  การวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต

                       หลังจากทราบรายงานผลิตภาพการท างานของฝ่ายผลิต ซึ่งแสดงปริมาณของเสียทั้งหมด สามารถน าผล
               ที่ได้เพื่อวาดแผนภูมิพาเรโต (Pareto diagram) เพื่อวิเคราะห์ปริมาณของเสียในแต่ละแผนก พบว่า  แผนกทอดมี
               ปริมาณของเสียมากที่สุดเมื่อเทียบกับแผนกอื่นๆ จึงน าผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดของเสียใน
               กระบวนการผลิตเพื่อท าการปรับปรุงวิธีการท างานต่อไป

                       การวิเคราะห์หาสาเหตุของของเสียที่เกิดขึ้นนั้น ใช้แผนภูมิก้างปลา ( Cause-and-effect  diagram) ดัง
               แสดงในภาพที่ 1 เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่ท าให้เกิดของเสีย จากการศึกษาได้ท าการวิเคราะห์
               สาเหตุของแผนกทอด ได้ผลดังนี้
                       -  วัตถุดิบมีการปนเปื้อนถั่วเสีย เมื่อน ามาทอดส่งผลให้มีจ านวนเม็ดถั่วเสียจ านวนมาก
                       -  ระยะเวลาในการแช่ถั่วเร็วหรือนานเกินไป ท าให้สีถั่วที่ปรากฏไม่ตรงตามความต้องการ
                       -  อุณหภูมิของเครื่องทอดต่ าหรือสูงเกินมาตรฐานก าหนด ส่งผลให้ถั่วมีลักษณะดิบหรือไหม้ มีลักษณะ

                          ปรากฏไม่ตรงตามมาตรฐาน
                       -  ระยะเวลาที่ใช้ในการทอดต่ าหรือสูงเกินมาตรฐานก าหนด ส่งผลให้ถั่วอมน้ ามันหรือไหม้ มีลักษณะ
                          ปรากฏไม่ตรงตามมาตรฐาน
                       -  พนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องท างานด้วยความประมาท ส่งผลให้สินค้าตกหล่นลงพื้น เกิดเป็นของเสีย

                       -  ปัญหาจากไฟฟ้าดับระหว่างเครื่องทอดก าลังท างาน ส่งผลให้ถั่วที่อยู่ภายในเครื่องทอดไหม้ ไม่
                          สามารถใช้ผลิตต่อไปได้



               พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ ทิพย์ มีมนต์ษม
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79