Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การใช้ฐานข้อมูลเพื่อลดการสูญเสียในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตขนมถั่วอบกรอบ
66
1. บริษัทสามารถค านวณค่าจ้างแรงงานและจัดท ารายงานของพนักงานด้วยความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ รายงานค่าจ้างแรงงานรายวัน รายงานค่าจ้างแรงงานรายสัปดาห์ รายงานประกันสังคม
และรายงานการหยุดงานประจ าวันของฝ่ายทรัพยากรบุคคล
2. พนักงานฝ่ายผลิตสามารถค านวณผลิตภาพการผลิต ปริมาณของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และ
วิเคราะห์สาเหตุของการเกิดของเสียจากระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้น
1. การออกแบบระบบฐานข้อมูล
การออกแบบระบบฐานข้อมูลและเอกสารการปฏิบัติงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายผลิต
ประกอบด้วย การออกแบบตารางฐานข้อมูล ฟอร์ม รายงาน การออกแบบหน้าต่างติดต่อกับผู้ใช้งานและสุดท้าย
เป็นตัวอย่างการใช้งานของโปรแกรมฐานข้อมูล ได้แก่
1.1 การออกแบบระบบปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล การท างานของพนักงาน ประกอบด้วย
ข้อมูลประวัติพนักงาน ค่าจ้างแรงงาน และจ านวนชั่วโมงท างานที่ได้จากบัตรลงเวลาท างาน น ามาค านวณค่าจ้าง
แรงงานจัดท าเป็นรายงาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ รายงานค่าจ้างประจ าวัน รายงานค่าจ้างประจ าสัปดาห์
รายงานประกันสังคม และรายงานการหยุดงาน ดังขั้นตอนการไหลของเอกสารรายงานค่าจ้างแรงงาน
การปฏิบัติงานของฝ่ายผลิต มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลการผลิตคือ ปัจจัยการผลิต ปัจจัยผลผลิต และปริมาณ
ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต น ามาจัดท าเป็นรายงานการผลิตประจ าวัน
1.2 การออกระบบฐานข้อมูลพนักงานและการผลิต
1.2.1 การวิเคราะห์ระบบ (System analysis)
ได้จ าลองระบบการท างานในปัจจุบันด้วยแบบจ าลอง ได้แก่ แบบจ าลองขั้นตอนการท างานของระบบ
(Process model) แบบจ าลองข้อมูล (Data model) โดยใช้เครื่องมือในการจ าลองแบบชนิดต่างๆ ได้แก่ แผนภาพ
กระแสข้อมูล (Data flow diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ( Entity-relationship diagram)
โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นในการวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ การศึกษาขั้นตอนการท างานของระบบปัจจุบัน การก าหนด
ความต้องการในการใช้ระบบใหม่ การจ าลองแบบขั้นตอนการท างานโดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูล และการจ าลอง
แบบข้อมูลโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์
1.2.2 การแสดงผลทางหน้าต่างโปรแกรมฐานข้อมูลพนักงานและการผลิต
หน้าต่างโปรแกรมฐานข้อมูลพนักงานและการผลิตประกอบด้วย 4 รายการ 5 ตาราง ส าหรับการท างานที่
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในระบบการจัดเก็บข้อมูล แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1) การบันทึกข้อมูลเริ่มต้นการท างาน ประกอบด้วย 1 หน้าต่าง คือ ข้อมูลประวัติพนักงานทั้งหมด
(ตาราง Information) โดยฟอร์มข้อมูลประวัติพนักงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลการท างาน และข้อมูล
ส่วนตัว สามารถกรอกข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลพนักงานใหม่ หรือแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่เดิมหรือค้นหาข้อมูลพนักงานที่
ต้องการทราบรายละเอียด
2) การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 3 หน้าต่าง คือ หน้าต่างบันทึกข้อมูลอัตราค่าจ้างแรงงาน
(Compensation) บันทึกข้อมูลชั่วโมงท างานของพนักงาน (HourWork) และบันทึกข้อมูลการผลิตของแผนกต่างๆ
(Production) โดยมีการกรอกข้อมูลค่าจ้างแรงงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปี รหัสพนักงาน และค่าจ้างแรงงาน
ต่อวัน จากนั้นฐานข้อมูลท าการค านวณค่าจ้างแรงงานต่อชั่วโมงให้โดยอัตโนมัติ มีการกรอกข้อมูลการท างาน
พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ ทิพย์ มีมนต์ษม