Page 68 -
P. 68
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การใช้ฐานข้อมูลเพื่อลดการสูญเสียในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตขนมถั่วอบกรอบ
64
ค าน า
จากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ท าให้ทุกองค์กรต่างพัฒนาประสิทธิภาพการท างานเพื่อลดต้นทุน
และอัตราการสูญเสียจากการท างานที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยในการปฏิบัติงานจ าเป็นต้องอาศัยความรวดเร็ว และ
ความถูกต้องเป็นส าคัญ รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตหรือรายได้จากการผลิต
ผลิตภัณฑ์ ท าให้เกิดประสิทธิภาพในการท างานอย่างสูงสุด โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ
ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่จ านวนมาก เพื่อเป็นบันทึกขององค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นกระดาษ
มาก และมีโอกาสเกิดการสูญหายได้ ดังนั้นการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่จ านวนมากนี้ ต้องอาศัยเครื่องมือที่มี
ประสิทธิภาพเข้ามาช่วย เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ลดการสูญหาย สามารถเรียกใช้ได้อย่าง
รวดเร็วและมีความถูกต้องมากที่สุด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล โดยโครงสร้าง
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database) ด้วยโปรแกรม Microsoft access 2003 โดยท าการศึกษาข้อมูล
ท างานของบริษัทผลิตขนมถั่วอบกรอบเป็นกรณีศึกษา ซึ่งปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษา พบว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมี
การท างานซ้ าซ้อน ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้ปริมาณกระดาษเพื่อจัดเก็บข้อมูลจ านวนมาก และไม่มีการน าข้อมูล
ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะข้อมูลการผลิต
บริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้ผลิตขนมถั่วอบกรอบ การด าเนินการผลิตสินค้า บริษัทมีกระบวนการผลิตที่
ทันสมัย ซึ่งเครื่องจักรส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรระบบอัตโนมัติและมีการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มี
รสชาติและคุณภาพที่ดี ส าหรับระบบการผลิตบริษัทมีนโยบายในการผลิตตามสั่ง (Make to order) เพื่อให้ได้
ผลิตภัณฑ์ที่มีความสดขณะส่งถึงมือผู้บริโภคมากที่สุด ในส่วนของระบบการขนส่ง บริษัทมีรถขนส่งสินค้าของ
ตนเอง ซึ่งท าการจัดส่งสินค้าทุกวันไปยังผู้จัดจ าหน่าย และผู้ผลิตภายในประเทศเพื่อน าไปเป็นส่วนประกอบใน
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์มีการจ าหน่ายทั้งภายในและส่งออกสู่ประเทศในทวีปต่างๆ ได้แก่ ทวีปอเมริกา ทวีป
เอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป
จากการเก็บข้อมูล ณ ปัจจุบันในฝ่ายผลิตและฝ่ายทรัพยากรบุคคล พบว่ามีปัญหาดังนี้
1. ปัญหาของฝ่ายผลิต
การด าเนินงานของฝ่ายผลิต พบว่าในปัจจุบันองค์กรขาดการน าประโยชน์จากการจัดเก็บข้อมูล การ
รายงานบันทึกการผลิตประจ าวัน ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ บันทึกของผู้ปฏิบัติงานและบันทึกของพนักงานฝ่าย
ธุรการซึ่งมียอดการผลิตไม่ตรงกัน ส่งผลให้การจัดเก็บข้อมูลไม่ถูกต้อง ยากต่อการประเมินผลการท างาน การ
บันทึกจัดเก็บลงในรายงานไม่มีการจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้การค านวณไม่สามารถท าได้ทันที และยังขาด
การบันทึกปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้บริษัทเกิดการสูญเสียผลผลิต
2. ปัญหาของฝ่ายทรัพยากรบุคคล
การท างานหลักของฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือการคิดค านวณค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากระบบปัจจุบันมีการ
จัดเก็บข้อมูลหลายแห่งโดยใช้โปรแกรมที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการท ารายงาน มีฐานข้อมูลและผู้รับผิดชอบหลายคน ท า
ให้เกิดความผิดพลาดในการท างาน และความน่าเชื่อถือของข้อมูลลดลง ลักษณะการท างานคือ การใช้การจด
บันทึกลงในรายงานโดยไม่มีการเก็บข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ ท าให้การเรียกใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ และ
สิ้นเปลืองทรัพยากร
การจัดท าค่าจ้างแรงงานของบริษัทนั้นมีเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 6 รายงาน ได้แก่ บัตรประวัติ
พนักงาน ค่าจ้างแรงงานรายวัน ค่าจ้างแรงงานรายสัปดาห์ บัญชีรายจ่ายค่าจ้างแรงงาน รายงานจ านวนการขาด
งานของพนักงานต่อวัน และรายละเอียดการน าส่งเงินสมทบ (สปส.1-10)
จากเหตุผลดังกล่าวท าให้ผู้บริหารวางแผนเพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงานที่มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากปัญหาข้างต้นสามารถสรุปได้เป็นปัญหาหลัก 2 ประการ คือ
พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ ทิพย์ มีมนต์ษม