Page 63 -
P. 63
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
59
6.4 ค านวณเปรียบเทียบต้นทุนของการใช้วัตถุดิบทั้งสองชนิดในกรณีที่ก าหนดให้ใช้กากน้ าตาลในช่วงเดือน
มกราคมถึงเดือนมีนาคม กับกรณีที่ให้เลือกใช้กากน้ าตาลในช่วงเดือนที่มันส าปะหลังมีราคาสูง
ผลการประหยัด (Cost Savings) = TC - TC
1
2
ผลและวิจารณ์
การพยากรณ์ปริมาณกากน้ าตาล โดยโปรแกรม Crystal ball predictor ได้ค านวณวิธีพยากรณ์อนุกรม
เวลา 8 วิธี และคัดเลือกวิธีการ ที่เหมาะสม ที่สุดโดยเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อน จากการพยากรณ์ พบว่าวิธีที่
เหมาะสม คือ Seasonal multiplicative smoothing โดยให้ค่าพยากรณ์ปริมาณกากน้ าตาลในปีพ.ศ. 2550 จ านวน
42,541 ตัน และเมื่อน าไปใช้ในสมการเชิงเส้นที่สร้างขึ้นจากข้อก าหนดของกระบวนการผลิตจะท าให้ทราบปริมาณ
มันเส้นที่จะต้องจัดซื้อ จ านวน 91,738 ตัน ส าหรับ การพยากรณ์ราคามันเส้น วิธีการที่เหมาะสมที่มีค่าความ
ผิดพลาดน้อยที่สุดคือ Holt–Winters’ multiplicative seasonal smoothing method และได้น าราคาที่ได้จากการ
พยากรณ์ทั้ง 12 เดือนไปวิเคราะห์หาค่าต้นทุนที่ต่ าสุดเพื่อจัดซื้อมันเส้นจ านวน 91,738 ตัน เพื่อน าไปใช้ในการ
ผลิตร่วมกับกากน้ าตาล ดังนี้
1. ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ให้ใช้วัตถุดิบมันเส้น
2. ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ให้ใช้วัตถุดิบกากน้ าตาล
3. ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เป็นช่วงหยุดล้างเครื่องและซ่อมบ ารุง
4. ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ให้ใช้วัตถุดิบมันเส้น
การด าเนินการดังกล่าว (ตามทางเลือกที่ 2) ท าให้สามารถบริหารจัดการการใช้วัตถุดิบให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ และสามารถลดต้นทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบได้เป็นเงินประมาณ 13.17 ล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบ
กับแผนการผลิตเดิมที่ก าหนดให้ใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ซึ่งมีรายละเอียด
ดังในภาพที่ 1 สรุปได้ว่า การบริหารจัดการวัตถุดิบให้เหมาะสมกับสถานการณ์สามารถลดต้นทุนในการจัดซื้อ
วัตถุดิบได้อย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากราคามันเส้นในช่วงต้นปีถึงกลางปีมีราคาต่ า โดยเฉพาะเมื่อราคารับซื้อมันเส้นมี
ราคาต่ าสุดอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ท าให้การใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจะมี
ต้นทุนสูงกว่ามาก การใช้วัตถุดิบมันเส้นทดแทนสามารถลดต้นทุนได้เป็นจ านวนมาก
เมื่อพิจารณาความสามารถของโรงงานในการจัดเก็บกากน้ าตาล พบว่า โรงงานมีความจุประมาณ
30,000 ตัน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของปริมาณกากน้ าตาลที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทต้องสร้างถังเก็บ
กากน้ าตาลเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยมีต้นทุนหลักคือค่าใช้จ่ายในการสร้างถังเก็บ ขนาด
6,000 ลูกบาศก์เมตร จ านวน 5 ใบ เป็นเงินประมาณ 39.10 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับผลประหยัดที่ได้ในแต่ละ
ปีแล้ว พบว่า ช่วงเวลาการคืนทุน (Payback period) อยู่ในช่วงปีที่ 4 หรือผลประหยัดสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 ปี
เป็นเงิน 24.47 ล้านบาท โดยถ้าค านวณแบบคิดดอกเบี้ย พบว่า มีผลประหยัดสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 ปี เป็นเงิน
16.01 ล้านบาท (ตารางที่ 1)
การลงทุนสร้างถังเก็บกากน้ าตาลเพิ่มเติมจะท าให้บริษัทสามารถบริหารจัดการวัตถุดิบได้ตามความ
เหมาะสม และถังเก็บดังกล่าวสร้างจากวัสดุเหล็กเหนียว (Mild steel) มีอายุการใช้งานเกินกว่า 30 ปี จึงเหมาะสม
ในการลงทุนระยะยาว นอกจากนี้ ในส่วนของต้นทุนในการเก็บรักษานั้นมีค่าน้อยมาก จึงสมมติให้มีค่าเป็นศูนย์
เนื่องจากใช้พนักงานจ านวนเท่าเดิม และกากน้ าตาลไม่ต้องมีการดูแลเป็นกรณีพิเศษ
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์