Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล
56
ค าน า
การผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม สามารถท าการผลิตได้จากวัตถุดิบหลายชนิด ทั้ง
จากวัตถุดิบที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแป้ง เช่น มันส าปะหลัง ข้าวโพด ข้าว เป็นต้น หรือผลิตจาก
วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ าตาล เช่น อ้อย ข้าวฟ่างหวาน สับปะรด และกากน้ าตาล เป็นต้น
อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลของประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เหมาะสม 2 ชนิดคือกากน้ าตาล (Molasses) และมัน
ส าปะหลัง โดยอาจใช้ในรูปของมันสด (Cassava roots) หรือมันเส้น (Cassava chips) ในกรณีของโรงงาน
น้ าตาลที่มีการขยายการลงทุนเพื่อผลิตเอทานอลนั้นจะใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอล
เนื่องจากไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสรรหา จัดซื้อ ไม่ต้องมีภาระค่าขนส่งวัตถุดิบและสามารถควบคุมคุณภาพของ
วัตถุดิบได้ง่าย รวมทั้งความสะดวกในการบริหารจัดการเพื่อน ากากน้ าตาลเข้าสู่กระบวนการผลิตเอทานอลใน
ช่วงเวลาที่เหมาะสม การน ากากน้ าตาลไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลนั้นมีข้อดีคือกระบวนการผลิตสั้น
เนื่องจากกากน้ าตาลเป็นสารละลายน้ าตาลความเข้มข้นสูงและพร้อมจะเข้าสู่กระบวนการหมัก (Fermentation)
และมีระยะเวลาในการผลิตที่สั้น จ านวนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องควบคุมดูแลมีจ านวนไม่มากชิ้นเมื่อเทียบกับการ
ผลิตเอทานอลที่ใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแป้ง ข้อจ ากัดของการใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบ
ในการผลิตเอทานอลคือมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตตลอดทั้งปี หรือคิดเป็นปริมาณร้อยละ
25 – 35 ของความต้องการใช้วัตถุดิบรวม ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเตรียมมันส าปะหลังเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ทดแทน
โดยปริมาณมันส าปะหลังที่ต้องจัดเตรียมไว้นั้นจะขึ้นกับปริมาณของกากน้ าตาลที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิต
น้ าตาลในแต่ละปี ในปีที่มีปริมาณกากน้ าตาลมากก็จะมีการจัดเตรียมมันส าปะหลังในปริมาณที่น้อย และในปีที่มี
ปริมาณกากน้ าตาลน้อยก็จะมีการจัดเตรียมมันส าปะหลังในปริมาณที่มาก เป็นต้น การด าเนินการจัดเตรียมมัน
ส าปะหลังในแต่ละปีนั้นมีการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยใช้ประสบการณ์ของผู้บริหารในการก าหนดปริมาณวัตถุดิบ
เป้าหมายให้ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบไปด าเนินการติดต่อท าสัญญากับชาวไร่หรือเจ้าของลานมันเส้นเพื่อก าหนดวันที่และ
ปริมาณที่จะต้องส่งมอบวัตถุดิบ โดยทั่วไปโรงงานจะท าการผลิตเอทานอลโดยใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบก่อนเป็น
อันดับแรกในช่วงต้นเดือนมกราคม ซึ่งเป็นฤดูกาลเริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยส่งเข้าแปรรูปในโรงงานน้ าตาล จนกระทั่ง
กากน้ าตาลหมด หรือประมาณปลายเดือนมีนาคมจึงจะเริ่มใช้มันส าปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลและไป
สิ้นสุดปลายเดือนธันวาคมของทุกปี
ปัญหาของการด าเนินการจัดเตรียมและการจัดการในการใช้มันส าปะหลัง ได้แก่
1. ปริมาณมันส าปะหลังที่ได้จากการคาดการณ์นั้นมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงและอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
เช่นในกรณีที่คาดการณ์ไว้ต่ ากว่าความเป็นจริง ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบต้องไปเร่งด าเนินการติดต่อท าสัญญากับชาวไร่
หรือเจ้าของลานมันเส้นเพิ่มเติม ท าให้การจัดเตรียมวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อก าลังการผลิตหรืออาจได้วัตถุดิบใน
ราคาที่สูงกว่าที่ควร ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยรวม หรือต้องท าการลดก าลังการผลิตและอาจท าให้ต้อง
เลื่อนก าหนดการส่งมอบเอทานอลให้กับลูกค้า ซึ่งท าให้เกิดค่าใช้จ่ายในการด าเนินการและเสียชื่อเสียงขององค์กร
ในการด าเนินธุรกิจ ในกรณีที่ประเมินไว้สูงกว่าความเป็นจริง ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบอาจต้องไปด าเนินการติดต่อ
ยกเลิกสัญญากับชาวไร่หรือเจ้าของลานมันเส้น ซึ่งท าให้เกิดค่าใช้จ่ายในการด าเนินการและเสียชื่อเสียงของ
องค์กรในการด าเนินธุรกิจเช่นกัน
2. การก าหนดให้ใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเป็นอันดับแรกหรือให้ใช้ในช่วงเดือน
มกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี อาจไม่เหมาะสมและท าให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้นได้เนื่องจากราคาของ
มันส าปะหลังมีความเคลื่อนไหวตลอดปี ซึ่งอาจมีราคาสูงขึ้นได้ในช่วงที่ทางโรงงานก าลังใช้มันส าปะหลังเป็น
วัตถุดิบในการผลิต หรือราคาอาจลดลงมากในช่วงที่ทางโรงงานก าลังใช้กากน้ าตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต
พรธิภา องค์คุณารักษ์ และ ไพรัช ตรีรัตนธ ารง