Page 87 -
P. 87
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
83
การสร้างระบบมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพการขนส่งสินค้าของธุรกิจร้านอาหาร
STANDARD AND INSPECTION SYSTEMS
FOR RESTAURANT FOOD SUPPLY DISTRIBUTION
ชุติมา ไวศรายุทธ์ และ เกรียงยศ เจริญธีรวงศ์
Chutima Waisarayutt and Kriangyot Jaroenteerawong
บทคัดย่อ
ระบบการขนส่งสินค้าส าหรับธุรกิจร้านอาหารเป็นปัจจัยที่มีความส าคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
คุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบ งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจร้านอาหารที่มีสาขาทั่วประเทศ ซึ่งมีการ
จ้างบริษัทขนส่งเป็นตัวแทนในการกระจายสินค้าไปยังร้านสาขา โดยบริษัทฯ ยังไม่มีการควบคุมมาตรฐานในด้าน
การขนส่ง ท าให้บริษัทฯ ได้รับข้อร้องเรียนมากมายจากปัญหาคุณภาพในการขนส่ง โดยจ าแนกประเภทปัญหาได้
4 ด้าน คือ อุณหภูมิสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานที่ก าหนด บรรจุภัณฑ์เสียหาย วิธีการจัดส่งไม่ได้มาตรฐาน และส่ง
สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ เมื่อน าขั้นตอนการส่งสินค้ามาวิเคราะห์อันตรายเพื่อก าหนดมาตรฐานการท างาน พบว่า
อันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นอันตรายทางชีวภาพ เช่น การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในสภาวะอุณหภูมิที่ไม่
เหมาะสมขณะขนส่ง และเกิดการปนเปื้อนข้ามจากสุขลักษณะของพนักงานและรถขนส่ง ซึ่งอันตรายเหล่านี้อาจถูก
ลดหรือก าจัดได้ในขั้นตอนการแปรรูปของร้านสาขาที่ให้ความร้อนสูงแก่สินค้าก่อนการส่งมอบให้กับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิการขนส่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มแช่เย็นและแช่แข็ง
เช่น ปัญหาสินค้าที่ผ่านการปรุงสุก ไม่ได้ตามข้อก าหนดหรืออายุการเก็บวัตถุดิบสั้นกว่าที่ระบุไว้ ดังนั้นปัญหา
ดังกล่าวสามารถถูกควบคุมได้ด้วยการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานตั้งแต่
ขั้นตอนการรับสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตจนถึงส่งสินค้าไปยังร้านสาขา และครอบคลุมการควบคุมอุณหภูมิ ตลอดการ
ขนส่ง ความสะอาดสุขลักษณะของรถขนส่งและพนักงานขนส่ง วิธีการท างาน และการบันทึกข้อมูลต่างๆ รวมถึงมี
การก าหนดจุดควบคุม (Check list) ในการตรวจสอบการท างาน โดยจัดท าแผนการตรวจสอบการท างานของ
บริษัทขนส่งโดยการสุ่มตรวจสอบให้ครอบคลุมทุกบริษัทขนส่งและภูมิภาค เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทขนส่งได้ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการท างาน หลังการก าหนดมาตรฐานการท างานและประยุกต์ใช้มาตรฐานดังกล่าวกับบริษัทขนส่ง
และสุ่มตรวจสอบผลในการขนส่งสินค้า พบว่า บริษัทขนส่งมีการปรับปรุงมาตรฐานการท างานอย่างต่อเนื่อง ท าให้
ข้อร้องเรียนในด้านการขนส่งมีจ านวนลดลงถึง 57.38% ในปี พ.ศ. 2549 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 ที่ยังไม่มีการ
ก าหนดมาตรฐานการท างาน แสดงให้เห็นว่าการก าหนดการท างานให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นสามารถช่วยลดและ
ควบคุมปัญหาในระหว่างการขนส่งได้
ค าส าคัญ: ระบบตรวจสอบ, กิจกรรมการขนส่ง, ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง, การจัดการคุณภาพ
Keywords: Inspection system, Distribution activity, Frozen products, Quality management
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์