Page 118 -
P. 118
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของบุรุษในเขตกรุงเทพมหานคร
114
5. การทดสอบอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคในด้านจ านวนเงินที่
ใช้ซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ย ส่วนปัจจัยด้านสถานภาพสมรสและการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคใน
ด้านความถี่ในการซื้อ โดยที่พฤติกรรมการบริโภคที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้บริโภคที่มีปริมาณการซื้อสูง ได้แก่ การมีความถี่
ในการซื้อบ่อยหรือมีการใช้เงินซื้อต่อครั้งมาก ดังนั้นจึงสามารถระบุกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักที่มีปัจจัยส่วน
บุคคลได้ดังนี้ เป็นผู้บริโภคที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสแล้ว การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท
6. การวิเคราะห์ระดับความส าคัญของปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียม
สูง
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่าสามารถจัดกลุ่มค าถาม ในส่วนปัจจัยการตลาดให้เป็นกลุ่มปัจจัยหลักได้
ทั้งหมด 9 กลุ่ม คือ 1) ด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 2) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ 3) ด้านฉลาก
4) ด้านบรรจุภัณฑ์ 5) ด้านผู้ผลิตและตราสินค้า 6) ด้านราคา 7) ด้านสถานที่จัดจ าหน่าย 8) ด้านการส่งเสริม
การตลาด และ 9) ด้านการให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ และผลการวิเคราะห์ระดับความส าคัญของกลุ่มปัจจัยทาง
การตลาด พบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงมากที่สุดคือปัจจัยหลักด้าน
คุณภาพผลิตภัณฑ์ และจะให้ความส าคัญมากกับปัจจัยย่อยในด้านความสะอาดและปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ประโยชน์ที่ได้จากการดื่ม และความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ จากนั้นผู้บริโภคจะให้ความส าคัญมากรองลงมากับ
ปัจจัยหลักด้านฉลาก โดยเฉพาะปัจจัยย่อยเรื่องฉลากสินค้าหรือวัน เดือน ปีที่ผลิต และการแจ้งรายละเอียด
ปริมาณแคลเซียม ส่วนปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคให้ความส าคัญน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งเน้น
ความส าคัญของปัจจัยย่อยเรื่องการลดราคาและการให้ของแถม
7. การศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของผู้บริโภคเพศชายในด้าน
ความถี่ในการซื้อ และจ านวนเงินที่ใช้ซื้อต่อครั้งต่อการให้ความส าคัญกับปัจจัยทางการตลาด
พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงในด้านความถี่ในการซื้อมีอิทธิพลต่อการให้ความส าคัญกับ
กลุ่มปัจจัยทางการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ บรรจุภัณฑ์ สถานที่จัดจ าหน่าย และการให้ข้อมูลอย่างมี
นัยส าคัญ (p < 0.05) โดยผู้บริโภคที่ซื้อมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะให้ความส าคัญต่อปัจจัยดังกล่าวมากกว่า
ผู้บริโภคที่มีความถี่ในการซื้อในระดับที่น้อยกว่า โดยเฉพาะให้ความส าคัญกับความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ ความ
สวยงามของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้ดี การจัดวางสินค้าเป็นระเบียบ การโฆษณาผ่านสื่อ
ต่างๆ และการให้เอกสารแนะน าคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สูงกว่า ส่วนผู้บริโภคที่มีความถี่ในการซื้อสินค้าน้อยกว่า
หรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อสองสัปดาห์ จะให้ความส าคัญกับปัจจัยย่อยด้านรสชาติมากกว่า (p < 0.05) ดังนั้นหาก
ต้องการส่งเสริมการตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีปริมาณการซื้อต่อสัปดาห์สูงควรเน้นด้านความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์
ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้ดี ให้มีการจัดวางสินค้าเป็นระเบียบ เน้นการ
โฆษณาผ่านสื่อ (โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์) และมีการให้เอกสารแนะน าคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้
พบว่าผู้บริโภคที่ใช้เงินในการซื้อต่อครั้งสูงนั้นจะให้ความส าคัญกับการจัดกิจกรรมของสินค้ามากกว่าผู้ที่ใช้เงินใน
การซื้อต่อครั้งต่ า
จ านวนเงินที่ใช้ในการซื้อไม่มีอิทธิพลต่อการให้ความส าคัญกับกลุ่มปัจจัยทั้ง 9 กลุ่มปัจจัยอย่างมี
นัยส าคัญ (p ≥ 0.05) อย่างไรก็ดีพบว่าผู้บริโภคที่มีจ านวนเงินที่ซื้อต่อครั้งต่างกันแต่ก็ให้ความส าคัญต่อปัจจัยด้าน
คุณภาพผลิตภัณฑ์ในระดับที่สูงมากที่สุด
รวิพิมพ์ ฉวีสุข, อยุทธ์ อังศุธรวิไล และ ณัฐชา เพชรดากูล