Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
111
วิธีการ
1. การเก็บข้อมูล
1.1 ด าเนินการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเพื่อน ามาก าหนดปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ
ผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง และใช้สร้างแบบสอบถามส าหรับศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของบุรุษที่ซื้อผลิตภัณฑ์
นมแคลเซียมสูง และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ โดยแบบสอบถาม
ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค ข้อมูลพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภค ข้อมูล
ทัศนคติต่อสินค้าและทัศนคติต่อการใส่ใจสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง และข้อมูลปัจจัย
ทางด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง
1.2 ทดสอบแบบสอบถามกับผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างเพศชายจ านวน 30 คน เพื่อปรับแบบสอบถามให้
ชัดเจนมากขึ้น ส าหรับแบบสอบถามที่อยู่ในรูปสเกล ได้แก่ แบบสอบถามส่วนทัศนคติและปัจจัยทางการตลาดที่มี
อิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง ให้ตรวจสอบว่าจ าเป็นต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อจัดกลุ่ม
ค าถามหรือไม่ โดยค านวณค่า Kaiser-Meyer-Olkin หรือ KMO (กัลยา, 2546) ถ้าค่า KMO มากกว่า 0.50 แสดง
ว่าค าถามหรือปัจจัยย่อยที่ทดสอบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส าคัญ จึงต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัย ( Factor
analysis) เพื่อจัดกลุ่มค าถาม ต่อไป ในการ วิเคราะห์ปัจจัย นั้นท าการสกัดปัจจัยด้วยวิธี Principal component
analysis หมุนแกนปัจจัยด้วยวิธี Orthogonal rotation แล้วใช้เทคนิค Varimax ที่ท าให้มีจ านวนตัวแปรที่น้อย
ที่สุด มีค่า Factor loading มากในแต่ละปัจจัย จากนั้นวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ได้ปรับใหม่
หลังการวิเคราะห์ปัจจัย โดยการค านวณค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s alpha ของกลุ่มปัจจัยหลักแต่ละกลุ่ม ค่า
สัมประสิทธิ์ Cronbach’s alpha จะมีค่าตั้งแต่ 0-1 และค่าที่เหมาะสมซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อถือได้นั้น
ควรมีค่ามากกว่า 0.6 (Malhotra, 2006)
1.3 การก าหนดจ านวนตัวอย่างและรูปแบบการสุ่มตัวอย่าง มีการด าเนินการ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกเขตในกรุงเทพมหานครที่จะท าการเก็บข้อมูล โดยพิจารณาจากเขตที่มี
จ านวนประชากรเพศชายมากที่สุด 5 อันดับแรก (ร้อยละ 10 จากทั้งหมด 50 เขต) ได้แก่ เขตบางแค เขตบางเขน
เขตจตุจักร เขตจอมทอง และเขตดอนเมือง จากนั้นค านวณหาจ านวนตัวอย่างขั้นต่ าทั้งหมดที่ต้องการที่ระดับ
ความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 95 (Churchill, 2002) พบว่าขนาดตัวอย่างขั้นต่ าจะเท่ากับ 341 คน
ขั้นตอนที่ 2 การเลือกตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบเป็นสัดส่วน ( Proportionate stratified
sampling) คือ ประชากรในเขตใดมีจ านวนมากจะเลือกตัวอย่างมามาก ในขณะที่เขตใดมีจ านวนน้อยก็จะเลือก
ตัวอย่างมาจ านวนน้อยด้วยตามสัดส่วน (กัลยา, 2546) ผลการคัดเลือกพบว่า จ านวนตัวอย่างที่ต้องการใน เขต
บางแค เท่ากับ 73 คน เขตบางเขน 71 คน เขตจตุจักร 66 คน เขตจอมทอง 66 คน และเขตดอนเมือง 65 คน
ขั้นตอนที่ 3 เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องในแต่ละเขต โดยเลือกเก็บข้อมูลที่ห้างคาร์ฟู ร์ไฮเปอร์มาเก็ต
สาขาบางแค รามอินทรา ลาดพร้าว บางบอน และรังสิต
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล
2.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคและข้อมูลทัศนคติของผู้บริโภค
โดยใช้พรรณนาสถิติในรูปของความถี่และร้อยละ ในส่วนของการเรียงล าดับความชอบของประเภทนมแคลเซียม
สูงนั้นจะท าการค านวณล าดับโดยให้น้ าหนักส าหรับค าตอบที่ผู้บริโภคเรียงล าดับความชอบต่างๆ
2.2 วิเคราะห์อิทธิพลของเขตที่เก็บตัวอย่าง 5 เขตต่อปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส
2
ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน โดยใช้การทดสอบไคสแควร์เพื่อความเป็นอิสระ (χ -test for
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์