Page 110 -
P. 110

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                               การสร้างระบบมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพการขนส่งสินค้าของธุรกิจร้านอาหาร
               106


                        350           305                            266
                        300
                    จ ำนวนข้อร้องเรียน (ครั้ง)  250


                        200

                        150
                        100
                         50                    61                             26

                          0
                                        พ.ศ. 2548                     พ.ศ. 2549


                     วัตถุดิบ             305                            266


                     กำรขนส่ง              61                            26

               ภาพที่ 13 จ านวนการร้องเรียนปัญหาวัตถุดิบและปัญหาการขนส่งในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549

                                                   สรุปและวิจารณ์ผล

                       จากปัญหาคุณภาพในการขนส่งสินค้าต่างๆ  ที่เกิดขึ้น สามารถจ าแนกประเภทของปัญหาได้ 4 ประเภท
               คือ อุณหภูมิสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานที่ก าหนด บรรจุภัณฑ์เสียหาย วิธีการจัดส่งไม่ได้มาตรฐาน และส่งสินค้าไม่
               ตรงกับที่สั่งซื้อ และเมื่อน าขั้นตอนการส่งสินค้ามาท าการวิเคราะห์อันตรายเพื่อก าหนดมาตรฐานการท างาน พบว่า
               อันตรายที่อาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นอันตรายทางชีวภาพ อันเกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโต
               ในสภาวะอุณหภูมิการขนส่งไม่เหมาะสม และเกิดจากการปนเปื้อนข้ามจากสุขลักษณะของพนักงานและรถขนส่ง
               จากการวิเคราะห์อันตราย  พบว่า อันตรายเหล่านี้จะถูกลดหรือก าจัดได้ในขั้นตอนการแปรรูปของร้านสาขา ซึ่งมี

               การให้ความร้อนสูงก่อนการส่งมอบให้กับผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิในการขนส่ง  ยังคงส่งผลกระทบต่อ
               คุณภาพของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มแช่เย็นและแช่แข็ง เช่น เมื่อผ่านการแปรรูปแล้วสินค้าจะมีสีคล้ า
               กว่ามาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ รวมทั้งอาจส่งผลให้อายุการจัดเก็บสั้นกว่าที่ก าหนดไว้ด้วย
               ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งดังกล่าวสามารถควบคุมได้ด้วยการใช้มาตรฐานการท างานที่พัฒนาขึ้น ซึ่ง
               มาตรฐานประกอบด้วย มาตรฐานการท างานตั้งแต่ขั้นตอนการรับสินค้าจากโรงงานผู้ผลิต จนถึงส่งสินค้าไปยังร้าน

               สาขา ซึ่งครอบคลุมถึงการควบคุมอุณหภูมิตลอดการขนส่ง ความสะอาดสุขลักษณะของรถขนส่งและพนักงาน
               ขนส่ง วิธีการท างาน และการบันทึกข้อมูลต่างๆ  รวมถึงมีการก าหนดจุดตรวจสอบ ( Check  list)  ในขั้นตอนการ
               ท างาน โดยจัดท าแผนการตรวจสอบการท างานของบริษัทขนส่งโดยท าการสุ่มตรวจสอบให้ครอบคลุมทุกบริษัท
               ขนส่ง และภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทขนส่งได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการท างานที่ก าหนดขึ้น
                       จากการก าหนดมาตรฐานการท างานและประยุกต์ใช้มาตรฐานดังกล่าวกับบริษัทขนส่ง และมีการสุ่ม
               ตรวจสอบการท างานในการขนส่งสินค้าแล้ว พบว่า บริษัทขนส่งมีการปรับปรุงมาตรฐานการท างานอย่างต่อเนื่อง

               ซึ่งส่งผลให้ข้อร้องเรียนในด้านการขนส่งมีจ านวนลดลงถึง 57.38% ในปี พ.ศ. 2549 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 ที่
               ยังไม่มีการก าหนดมาตรฐานการท างาน แสดงให้เห็นว่าการก าหนดการท างานให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นสามารถ
               แก้ปัญหาด้านคุณภาพสินค้าในระหว่างการขนส่งได้





               ชุติมา ไวศรายุทธ์ และ เกรียงยศ เจริญธีรวงศ์
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115