Page 114 -
P. 114
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของบุรุษในเขตกรุงเทพมหานคร
110
ค าน า
พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเรานั้นเป็นปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการ
บริโภคอาหารที่พึงประสงค์ย่อมน าไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดี ในทางตรงกันข้ามพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่
ไม่ถูกต้องอาจน าไปสู่ภาวะโภชนาการขาดหรือเกิน (ชวนชม และคณะ, 2548) จากการที่เศรษฐกิจและสังคมใน
ประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วท าให้ประชาชนมีการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่นคงในด้านรายได้ รวมทั้งการ
หลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมตะวันตกท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และแบบการด าเนินชีวิต
โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่มีชีวิตประจ าวันที่ต้องเร่งรีบท างานและต้องแข่งขันกับเวลา ละเลยการ
ดูแลรักษาสุขภาพ มีความพิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหารน้อยลง บริโภคอาหารที่ไม่ค านึงถึงประโยชน์และ
คุณค่า โดยเฉพาะรับเอาวัฒนธรรมในการบริโภคใกล้เคียงกับชาติตะวันตกมากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่มีโปรตีน
และไขมันสูง แต่ขาดแร่ธาตุและวิตามินที่จ าเป็นต่อร่างกาย สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีพฤติกรรมทางเพศ
ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดการออกก าลังกายเป็นเหตุให้ต้องประสบกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และ
โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ส าหรับโรคหัวใจและโรคเบาหวานนั้นจะมีอาการที่แสดงออกที่ชัดเจน จึงรักษาได้ทันท่วงที
ตามอาการของโรค แต่ส าหรับโรคกระดูกพรุนนั้นถือว่าเป็นโรคเงียบ เนื่องมาจากไม่สามารถทราบว่าเป็นโรคนี้
จนกว่าจะมีอาการบางอย่างแสดงออกมา เช่น อาการปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง หรือ
จากการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือแพทย์เท่านั้น ซึ่งคนไทยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนมากขึ้น
เนื่องจากการใช้ชีวิตประจ าวันส่วนใหญ่อยู่ในตัวอาคาร ได้รับแสงแดดน้อย มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่
เปลี่ยนแปลงไป และขาดการออกก าลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักท าให้ร่างการขาดธาตุแคลเซียมที่เป็นส่วนประกอบ
ที่ส าคัญของกระดูก หรือท าให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกได้ไม่เต็มที่ ท าให้
เกิดการสลายกระดูกมากกว่าการสร้าง เพราะร่างกายจะน าแคลเซียมจากกระดูกไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ใน
ร่างกาย และท าให้เกิดโรคกระดูกพรุนในที่สุด นอกจากนี้ในกรณีที่ได้รับบาดแผลและมีเลือดออกผู้ที่มีแคลเซียม
น้อยการแข็งตัวของเลือดจะช้าลง (Brown,1990) จากภาวการณ์ต่างๆ ดังกล่าวมานั้นได้ส่งผลให้ “ผลิตภัณฑ์นม
แคลเซียมสูง” กลายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีความส าคัญต่อการด ารงชีวิตในสภาวะปัจจุบันของคนในกรุงเทพมหานคร
อีกทั้งในภาครัฐได้ท าการส่งเสริมให้คนไทยดื่มนม ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ส าคัญของคนทุกเพศทุกวัยมากขึ้น
เพื่อป้องกันการเกิดการขาดแคลเซียม และในเพศชายก็ยังมีอาการวัยทองซึ่งส่งผลโดยตรงที่ท าให้เกิดโรคกระดูก
ต่างๆ ดังนั้นผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงจึงเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองเนื่องจากยังคงมีโอกาสในการขยายตัวได้ โดยมี
ปัจจัยหนุนคือ กระแสการรักษาสุขภาพเชิงป้องกัน รวมทั้งการขยายฐานลูกค้า ซึ่งงานวิจัยนี้จะท าการวิจัยในกลุ่ม
ผู้บริโภคเพศชายซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้
ในการวางแผนการตลาดและการพัฒนาปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง เพื่อให้
ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างสูงสุดนั้น จึงจ าเป็นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมการ
บริโภค รวมทั้งปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อนมแคลเซียมสูง งานวิจัย
ชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะระบุลักษณะพฤติกรรม ทัศนคติ และความต้องการของลูกค้าหรือกลุ่มผู้บริโภคเพศ
ชายในระดับต่างๆ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการเกิดความเข้าใจและรู้จักลูกค้าอย่าง
แท้จริงอันจะน าไปสู่การขยายฐานตลาดจากเพศหญิงสู่เพศชายให้มากขึ้น และการก าหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่
สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วยงบประมาณที่เหมาะสม ทั้งยัง
ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงโรคเกี่ยวกับกระดูก และเรียนรู้ที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคขึ้นอีกด้วย
โดยมีขอบเขตของการวิจัยที่กลุ่ม ผู้บริโภคเพศชาย อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ดื่มนมแคลเซียมสูงใน เขต ในเขต
กรุงเทพมหานคร
รวิพิมพ์ ฉวีสุข, อยุทธ์ อังศุธรวิไล และ ณัฐชา เพชรดากูล