Page 116 -
P. 116
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของบุรุษในเขตกรุงเทพมหานคร
112
independence) ถ้าเขตมีอิทธิพลต่อปัจจัยส่วนบุคคลอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติจะด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
เพิ่มเติมในรูปของตารางการแจกแจงความถี่ร่วม
2.3 วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับ
รายได้ต่อเดือน ต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง ได้แก่ ความถี่ในการซื้อ และจ านวนเงินที่ใช้ซื้อ
โดยเฉลี่ยต่อครั้ง โดยใช้การทดสอบไคสแควร์เพื่อความเป็นอิสระ กรณีที่ปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
การซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติจะด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในรูปของตารางการแจกแจง
ความถี่ร่วม
2.4 วิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความส าคัญที่ผู้บริโภคให้กับกลุ่มปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพล
ต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง ทั้งปัจจัยหลักที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัย และปัจจัยย่อย โดยการวิเคราะห์
ความแปรปรวน แต่ถ้าความแปรปรวนไม่เท่ากันในทุกกลุ่ม ปัจจัยให้วิเคราะห์ด้วยวิธี Brown – Forsythe (กัลยา,
2546) ในกรณีที่ปัจจัยทางการตลาดแต่ละตัวมีระดับความส าคัญแตกต่างกันให้เปรียบเทียบความแตกต่างของ
ความส าคัญด้วยวิธี Least significant difference (LSD)
2.5 ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของผู้บริโภคเพศชาย ได้แก่
ความถี่ในการซื้อ และจ านวนเงินที่ใช้ซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ย ต่อการให้ความส าคัญกับปัจจัยทางการตลาด โดยใช้การ
วิเคราะห์ความแปรปรวน หรือ Brown – Forsythe ถ้าพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงมีอิทธิพลต่อ
ความส าคัญเฉลี่ยที่ผู้บริโภคให้กับปัจจัยทางการตลาด ให้เปรียบเทียบความแตกต่างของความส าคัญที่ให้กับ
ปัจจัยทางการตลาดแต่ละตัวด้วยวิธี LSD
2.6 วิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความส าคัญที่ผู้บริโภคให้กับกลุ่มทัศนคติหลัก และย่อยที่มีต่อ
สินค้าและทัศนคติหลักและย่อยที่มีต่อการใส่ใจสุขภาพโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน หรือ Brown – Forsythe
ในกรณีที่ทัศนคติหลัก และย่อย แต่ละตัวมีระดับความส าคัญแตกต่างกันให้เปรียบเทียบความแตกต่างของ
ความส าคัญด้วยวิธี LSD
2.7 ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับ
รายได้ต่อเดือน ต่อระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติที่มีต่อสินค้าและทัศนคติที่มีต่อการใส่ใจสุขภาพ ใช้การวิเคราะห์
ความแปรปรวนหรือวิธี Brown – Forsythe ถ้าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อระดับความเห็นด้วยกับ
ทัศนคติทั้ง 2 ประเภท ให้เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติดังกล่าวด้วยวิธี LSD
2.8 การวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภค ท าการจัดกลุ่มผู้บริโภคโดยการวิเคราะห์กลุ่มตัวแปร ( Cluster
analysis) จากคะแนนเฉลี่ยของความส าคัญที่ผู้บริโภคให้กับปัจจัยหลักทางการตลาดและระดับความเห็นด้วยเฉลี่ย
กับทัศนคติหลักของผู้บริโภค ด้วยเทคนิค K-means cluster analysis และระบุคุณลักษณะเด่นของกลุ่มจากการให้
ความส าคัญกับปัจจัยหลักทางการตลาด และระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติหลัก
2.9 วิเคราะห์อิทธิพลของกลุ่มผู้บริโภคต่อระดับความเห็นด้วยในทัศนคติหลักต่อสินค้าและทัศนคติ
หลักต่อการใส่ใจสุขภาพที่จัดกลุ่มได้ และวิเคราะห์อิทธิพลของกลุ่มผู้บริโภคต่อระดับความส าคัญของปัจจัยหลัก
ทางการตลาดที่จัดกลุ่มได้โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ( ANOVA) หรือวิธี Brown – Forsythe ถ้ากลุ่ม
ผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้บริโภคมีระดับความเห็นด้วยโดยเฉลี่ยกับทัศนคติหลักและระดับความส าคัญของ
ปัจจัยหลักทางการตลาดแตกต่างกัน ให้เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติหลักและ
ระดับความส าคัญของปัจจัยหลักทางการตลาดแต่ละทัศนคติหรือแต่ละปัจจัยหลักทางการตลาดด้วยวิธี LSD
2.10 การวิเคราะห์อิทธิพลของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า ใช้การทดสอบไคสแควร์เพื่อ
ความเป็นอิสระ ในการตรวจสอบสมมติฐานที่ว่ากลุ่มของผู้บริโภคเป็นอิสระต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า ได้แก่
ความถี่ในการซื้อ และจ านวนเงินที่ใช้ซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ยหรือไม่
รวิพิมพ์ ฉวีสุข, อยุทธ์ อังศุธรวิไล และ ณัฐชา เพชรดากูล