Page 119 -
P. 119

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                         การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
                                                                                                       115

                          จากผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคจะให้ความส าคัญกับปัจจัย ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์มากที่สุด

                   รองลงมาคือ ฉลาก และราคา ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องท าการพัฒนาหรือปรับให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคให้
                   ได้มากที่สุด และเมื่อท าการวิเคราะห์ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความถี่ในการซื้อและใช้เงินในการซื้อสินค้าต่อครั้งในระดับ
                   ที่ต่างๆ กัน พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีปริมาณการซื้อสูง ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีความถี่ และใช้เงินในการซื้อต่อ
                   ครั้งสูงจะให้ความส าคัญกับปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีปริมาณการซื้อ

                   น้อย และเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยย่อยของปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่ควรให้ความส าคัญ
                   มากที่สุดคือรสชาติ และความเข้มของผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยเรื่องราคาพบว่าผู้บริโภคที่ใช้เงินในการซื้อต่อครั้งสูงจะ
                   ให้ความส าคัญน้อยกว่าผู้บริโภคที่ใช้เงินในการซื้อต่อครั้งต่ า และควรเน้นจัดกิจกรรมทางการตลาดกับผู้บริโภคที่ใช้
                   เงินในการซื้อต่อครั้งสูง ดังนั้นการตั้งราคานั้นไม่ควรตั้งราคาให้ต่ ากว่าคู่แข่ง  ควรตั้งราคาให้เหมาะสม หรืออาจตั้ง
                   ราคาให้สูงกว่าเล็กน้อยแต่ให้เน้นด้านรสชาติและความเข้มข้นของนมเป็นหลัก


                   8.  การวิเคราะห์ระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติต่อการซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง
                          ส าหรับทัศนคติต่อสินค้านมแคลเซียมสูงสามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยจัดกลุ่มค าถามให้เป็นกลุ่มทัศนคติ
                   หลักได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม คือทัศนคติด้านประโยชน์ของสินค้า   ทัศนคติด้านความเชื่อมั่นและราคาของสินค้า และ
                   ทัศนคติแง่ลบที่มีต่อสินค้า ส่วนทัศนคติต่อการใส่ใจสุขภาพสามารถจัดกลุ่มทัศนคติหลักได้เป็น 4 กลุ่ม คือทัศนคติ

                   ด้านการรักษาสุขภาพ ทัศนคติด้านการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ทัศนคติด้านการบริโภค และทัศนคติแง่ลบต่อ
                   การใส่ใจสุขภาพ   และผลการวิเคราะห์ ระดับความคิดเห็นของกลุ่มทัศนคติ พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยกับทัศนคติ
                   ด้านประโยชน์ของสินค้าในระดับสูงที่สุด โดยเฉพาะทัศนคติย่อยในเรื่องการดื่มนมแคลเซียมสูงจะท าให้กระดูกและ
                   ฟันแข็งแรง และการดื่มนมแคลเซียมสูงอย่างสม่ าเสมอจะท าให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพ ดี ทัศนคติหลักต่อ
                   สินค้าที่ผู้บริโภคเห็นด้วยในระดับรองลงมาได้แก่ ทัศนคติด้านความเชื่อมั่นและราคาของสินค้า โดยเฉพาะทัศนคติ
                   ย่อยเรื่องการบริโภคนมแคลเซียมสูงมีประโยชน์สูงกว่านมปกติทั่วไป   และทัศนคติที่ว่าท่านมีความเชื่อมั่นใน

                   คุณภาพที่ดีต่อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงที่ขายในปัจจุบัน และมีทัศนคติไม่แน่ใจในเรื่องนมแคลเซียมสูงมีราคา
                   เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นมแคลเซียมสูงมีราคาเหมาะสมเมื่อเทียบกับนมทั่วไป   ซึ่งสอดคล้องกับ
                   งานวิจัยของสุทธิดา (2547) ที่ระบุว่าผู้บริโภคมีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจกับข้อความที่ว่านมที่เสริมแคลเซียม
                   มีราคาเหมาะสมเมื่อเทียบกับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับ ส่วนทัศนคติหลักต่อสินค้าที่ผู้บริโภคเห็นด้วยในระดับต่ า
                   ที่สุดคือทัศนคติในแง่ลบ โดยผู้บริโภคมีความไม่แน่ใจกับทัศนคติในแง่ลบ  ส าหรับทัศนคติหลักต่อการใส่ใจสุขภาพ

                   ที่ผู้บริโภคเห็นด้วยในระดับสูงที่สุดคือทัศนคติด้านการรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะทัศนคติย่อยในเรื่องการออกก าลัง
                   กายสม่ าเสมอและเป็นประจ าจะท าให้มีสุขภาพที่ดี และการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจ า
                   รองลงมาจะเห็นด้วยกับทัศนคติด้านการบริโภค โดยเฉพาะทัศนคติย่อยเรื่องเพื่อสุขภาพที่ดีควรหลีกเลี่ยงการสูบ
                   บุหรี่และการดื่มสุรา และเพื่อสุขภาพที่ดีควรดื่มน้ าเปล่าแทนการดื่มน้ าอัดลม ส่วนทัศนคติหลักที่ผู้บริโภคเห็นด้วย
                   ในระดับต่ าที่สุดคือทัศนคติต่อการใส่ใจสุขภาพในแง่ลบ


                   9.  การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลต่อระดับความคิดเห็นในทัศนคติต่อสินค้าและทัศนคติต่อ
                   การใส่ใจสุขภาพ
                          การทดสอบอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคอันได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา

                   อาชีพ ระดับรายได้ต่อเดือน ต่อระดับความเห็นด้วยกับทัศนคติหลักอันได้แก่ ทัศนคติด้านประโยชน์ของสินค้า
                   ทัศนคติด้านความเชื่อมั่นและราคาของสินค้า ทัศนคติต่อสินค้าในแง่ลบ   ทัศนคติด้านการรักษาสุขภาพ ทัศนคติ
                   ด้านการบริโภค ทัศนคติด้านการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ทัศนคติต่อการใส่ใจสุขภาพในแง่ลบ พบว่า  ไม่ว่าจะ


                                                ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124