Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พฤติกรรมและทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงของบุรุษในเขตกรุงเทพมหานคร
118
ต่างๆ และห้างสรรพสินค้า และการจัดชิงโชค หรือส่งเสริมด้านกีฬา และหากต้องการขยายกลุ่มลูกค้าไปยังผู้ที่
ห่วงใยในสุขภาพในช่วงอายุอื่นๆ ควรท าการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เติมสังกะสี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยให้
ต่อมลูกหมากท างานตามปกติ เนื่องจากต่อมลูกหมากจะโตง่ายตามวัยที่สูงขึ้นตามฮอร์โมนเพศชายที่เปลี่ยนไป
เป็นต้น และเน้นกิจกรรมทางการตลาดแบบตลาดเฉพาะ (Niche market) เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง พร้อม
ทั้งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงความจ าเป็นของสารอาหารที่ร่างกายต้องได้รับในแต่ละวัน แม้ว่าผู้บริโภคนิยม
ซื้อผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปหรือมินิมาร์ทและซูปเปอร์สโตร์ แต่โรงพยาบาล ร้านขายยา
หรือศูนย์ออกก าลังกาย ก็เป็นอีกช่องทางที่ใช้ในการกระจายสินค้ามุ่งไปที่ผู้ต้องการรักษาสุขภาพและป้องกัน
สุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง หรือจัดจ าหน่ายในเนสเซอรี่ผู้สูงอายุ ได้ และเนื่องจากผู้บริโภคที่มีความถี่ในการซื้อ
มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะให้ความส าคัญเรื่องความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาผลิตภัณฑ์
ได้ดีในระดับที่สูง บริษัทผู้ผลิตควรปรับปรุง และท าการวิจัยด้านบรรจุภัณฑ์ (Re-packaging) ให้มีความสวยงาม
ทันสมัยมากขึ้น เช่นออกแบบตัวหนังสือให้เห็นเด่นชัด การเปลี่ยนจากกล่องสั้นมาเป็นกล่องสลิมเพื่อสื่อให้ผู้บริโภค
ได้เห็นว่าดื่มแล้วไม่อ้วนเพราะมีไขมันต่ าหรือปลอดจากไขมัน ขณะเดียวกันยังสื่อไปถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่
อ่อนเยาว์ลงกว่าเดิม เพื่อดึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปให้มาสนใจดื่มนมแคลเซียมสูงมากขึ้น
2. กลยุทธ์ทางการตลาดส าหรับกลุ่มลูกค้า (Cluster) แต่ละกลุ่มดังนี้
2.1 กลุ่มพิถีพิถัน
กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ควรให้ความส าคัญ เนื่องจากมีความถี่ในการซื้อสินค้าต่อเดือนอยู่
ในระดับปานกลางถึงสูงในสัดส่วนที่มากที่สุด และมีจ านวนเงินที่ใช้ในการซื้อต่อครั้งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
ลักษณะโดยรวมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะมีอายุตั้งแต่ 18 – 25 ปี ในสัดส่วนร้อยละ 43 มีการศึกษาระดับปริญญา
ตรี โสดและประกอบอาชีพนักเรียนนักศึกษา และพนักงานบริษัท มีรายได้ 5,000 – 15,000 บาท และมากกว่า
20,000 บาทขึ้นไป เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความส าคัญกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้ามากในทุก
ปัจจัย โดยจะให้ความส าคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และฉลากของสินค้าเป็นอย่างมาก และเห็นด้วยกับทัศนคติ
เชิงบวกมากแต่ก็ยังเห็นด้วยกับทัศนคติในแง่ลบสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจ
ปัจจัยทางการตลาดที่ส าคัญตามที่ผู้บริโภคต้องการ และต้องท าการแก้ไขทัศนคติในแง่ลบต่อสินค้าของผู้บริโภค
กลุ่มนี้โดยการให้ความรู้ถึงประโยชน์และข้อดีของสินค้า และการใส่ใจสุขภาพในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้บริโภคมี
ทัศนคติที่ถูกต้องต่อสินค้าและการใส่ใจสุขภาพ
2.2 กลุ่มผู้รักสุขภาพ ผู้บริโภค
กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีความส าคัญรองลงมา จัดเป็นกลุ่มที่มีความถี่ในการซื้อสินค้าต่อเดือนอยู่ใน
ระดับปานกลางถึงสูง และมีจ านวนเงินที่ใช้ในการซื้อต่อครั้งอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะมีพฤติกรรมการซื้อบ่อย แต่ในแต่
ละครั้งจะมีการซื้อในปริมาณไม่มาก ลักษณะโดยรวมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะมีอายุตั้งแต่ 26 – 34 ปี ในสัดส่วน
ร้อยละ 35 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี โสด และประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้น
ไป เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้จะให้ความส าคัญกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าแทบทุกปัจจัยมาก และ
มีทัศนคติที่ดีในการใส่ใจสุขภาพค่อนข้างสูง จึงต้องมีการเน้นในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้เห็น
ความส าคัญและประโยชน์ของนมแคลเซียมสูง โดยที่ปัจจัยการตลาดที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความส าคัญมาก 3 อันดับ
แรก ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณภาพ ราคา และฉลาก ดังนั้นจึงควรเน้นท าให้ผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นในปัจจัย
เหล่านี้ และยังต้องท าการตลาดในปัจจัยทางการตลาดที่เหลือควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีทัศนคติที่ดีต่อ
สินค้าและต่อการใส่ใจสุขภาพในทิศทางที่ถูกต้อง แต่มีการบริโภคนมแคลเซียมสูงที่น้อยกว่ากลุ่มแรก ซึ่งผู้บริโภค
รวิพิมพ์ ฉวีสุข, อยุทธ์ อังศุธรวิไล และ ณัฐชา เพชรดากูล