Page 127 -
P. 127

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                         การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
                                                                                                       123

                          ระบุคุณลักษณะทางด้านส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้พัฒนาขึ้น แล้วก าหนดเกณฑ์เลือก

                   ผลิตภัณฑ์คู่แข่ง B, C ที่จะน ามาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  แล้วท าการเทียบเคียงคุณลักษณะโดยเกณฑ์
                   คุณลักษณะ ได้แก่ ส่วนประกอบหลัก คุณค่าทางโภชนาการ บรรจุภัณฑ์ และเกณฑ์ด้านการตลาด ได้แก่ ส่วนแบ่ง
                   ทางการตลาด และราคา

                   3.  จัดท าแบบสอบถามเพื่อการส ารวจความต้องการหลักของผู้บริโภค

                          จัดท าแบบสอบถามเพื่อส ารวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งแบ่งเป็น  2  ชุด
                   ได้แก่ แบบสอบถามชุดที่ 1 การส ารวจปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อตัวผลิตภัณฑ์ โดยใช้สเกล
                   คะแนนความพึงพอใจ 1 - 9 พิจารณาเลือกตอบ และแบบสอบถามชุดที่ 2 การเปรียบเทียบคะแนนความชอบของ
                   ผู้บริโภคในปัจจัยต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่ง 2 ตราสินค้า (B และ C) โดยใช้วิธีทดสอบ
                   ทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ใช้สเกลคะแนนความชอบ 1 - 9 ให้เลือกตอบ


                   4.  ก าหนดกลุ่มตัวอย่างและส ารวจข้อมูลความต้องการหลักของผู้บริโภค
                                                                                   2
                                                                                            2
                                                                                                2
                       4.1 ก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ( Sampling size) โดยค านวณจากสูตร n = Z  (est.  )  / H  (Churchill,
                   2001)  อ้างอิงหลักการทางสถิติที่ว่า แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสอบถามเกี่ยวกับการให้คะแนน
                   ความชอบของผู้บริโภคโดยใช้สเกลคะแนน  1 - 9 จะมีค่า est.  เท่ากับ 2.9 - 5.3 แทนค่าจะได้ค่าขนาดกลุ่ม
                   ตัวอย่าง (n) = 130 - 433 คน ในงานวิจัยนี้ก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการส ารวจข้อมูลเท่ากับ 200 คน
                       4.2 ส ารวจปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ จากแบบสอบสอบถามชุดที่  1 งานวิจัยนี้
                   สุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามแบบตามจุดประสงค์หรือเป้าหมาย (Purposive sampling/Judgmental sampling)
                   คือ กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ธัญญาหารส าเร็จรูปเพื่อสุขภาพชนิดชงดื่มที่มีอายุตั้งแต่  16 ปีขึ้นไป จ านวน 200 คน
                   โดยด าเนินการส ารวจข้อมูลช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สถานที่ท าการส ารวจข้อมูลคือร้านดอยค า

                   โครงการส่วนพระองค์  ,ร้านเลมอนฟาร์ม , ร้านโกลเด้นเพลส โครงการส่วนพระองค์สาขาต่างๆ ในเขต
                   กรุงเทพมหานคร แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยทดสอบความเชื่อถือได้ของปัจจัยที่ท าการส ารวจ หาความถี่
                   ร้อยละของลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามและหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิต  (Geometric  mean)
                   ของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ในแต่ละปัจจัย โดยค่าเฉลี่ยเรขาคณิต   Geometric  Mean  =

                   n  N   N   N ...  N , โดย  N  = คะแนนความชอบของผู้บริโภคคนที่  i = 1, 2, 3,.....,  n  และ  n  =
                                                 i
                           2
                                3
                                        n
                      1
                   จ านวนผู้ทดสอบ (Chumpa, 1998)
                       4.3 ส ารวจการเปรียบเทียบคะแนนความชอบของผู้บริโภคในปัจจัยต่างๆที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
                   ธัญญาหารส าเร็จรูปต้นแบบเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่ง 2 ตราสินค้า จากแบบสอบถามชุดที่   2  โดยส ารวจกับ
                   กลุ่มเป้าหมาย จ านวน 50 คน ท าการส ารวจข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามท าการ
                   ทดสอบทางประสาทสัมผัส แล้วเปรียบเทียบให้คะแนนความชอบของคุณลักษณะต่างๆ ระหว่างผลิตภัณฑ์ หา

                   ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของคะแนนความชอบของผู้บริโภคที่มีในแต่ละปัจจัยของผลิตภัณฑ์ทั้งสาม














                                                ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132