Page 125 -
P. 125
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
121
การประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่การท างานเชิงคุณภาพในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์
เครื่องดื่มธัญญาหารผงส าเร็จรูปจากปลายข้าวกล้องหอมมะลิและถั่วอะซูกิ
APPLICATION OF QUALITY FUNCTION DEPLOYMENT IN PRODUCT DEVELOPMENT
OF INSTANT CEREAL POWDER FROM BROKEN JASMINE BROWN RICE
AND AZUKI BEANS
ชุติมา ไวศรายุทธ์ และ สุภาวดี วัชรอุดมมงคล
Chutima Waisarayutt and Supawadee Vatcharaudommongkol
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ ศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารผงส าเร็จรูป และส ารวจความต้องการหลักของ
ผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องดื่มธัญญาหารส าเร็จรูปจากปลายข้าวกล้องหอมมะลิและถั่วอะซูกิ และ
ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่การท างานเชิงคุณภาพ ( Quality Function Deployment: QFD) เพื่อการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด การด าเนินการวิจัยเริ่มโดยการศึกษาตลาด
ผลิตภัณฑ์ และหาช่องว่างทางการตลาด ท าการวิจัยตลาดหาข้อมูลด้านความต้องการหลักของผู้บริโภคที่มีต่อ
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ คือ ระดับความส าคัญที่มีผลต่อความต้องการ และการเปรียบเทียบคะแนนความชอบที่มีต่อ
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง 2 ผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดถูกน ามาใช้ใน
กระบวนการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่การท างานเชิงคุณภาพ ( QFD) ผลการวิจัย
พบว่า ช่องว่างทางการตลาดคือ การเสริมคุณค่าโปรตีนและเส้นใยอาหาร จากนั้นใช้เทคนิค QFD เริ่มด้วยการ
แปลงข้อมูลจากการวิจัยตลาด พบว่า ปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคต้องการ ได้แก่ การเสริมแคลเซียมในผลิตภัณฑ์ ชง
ง่ายละลายเร็ว การเพิ่มคุณค่าวิตามิน เส้นใยอาหาร และราคาเหมาะสม ข้อมูลความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์
เหล่านี้จะถูกแปลงเป็นข้อก าหนดเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์ซึ่งวัดค่าได้ จากนั้นแปลงไปเป็นข้อก าหนดของ
ส่วนประกอบและคุณสมบัติของกระบวนการ และแปลงเป็นแผนควบคุมกระบวนการการผลิตต่อไป โดยฝ่ายพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ท าการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตามข้อก าหนดเชิงเทคนิคที่ได้จากแนวคิด QFD เพื่อให้มีคุณลักษณะ
เทียบเท่าหรือดีกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง การประเมินผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการใช้เทคนิค QFD พบว่า ผู้บริโภคกลุ่มเดิม
ให้ค่าคะแนนความชอบเฉลี่ยที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้นในทุกปัจจัยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่ง
งานวิจัยนี้ได้แสดงศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคนิค QFD ในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยรวมเอาข้อมูลจาก
การวิจัยตลาดเข้ากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการควบคุมกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้น
การตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ค าส าคัญ: เทคนิคการกระจายหน้าที่การท างานเชิงคุณภาพ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความต้องการ
ผู้บริโภคเป็นหลัก, เครื่องดื่มธัญญาหารผงส าเร็จรูป
Keywords: Quality function deployment technique, Consumer-oriented product development,
Instant cereal beverage
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์