Page 64 -
P. 64
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3
การเปลี่ยนแปลงความยากจนในประเทศไทย
ภาพที่ 3.7 รายได้ประชาชาติต่อหัว (บาท) จำแนกตามภาค
จะเห็นว่าภาคกลางประสบความสำเร็จในแก้ไขปัญหาความยากจนมากกว่าภาคอื่นๆ
แม้กระทั่งกรุงเทพฯและภาคใต้ซึ่งมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าภาคกลางในปี 2531 โดยสัดส่วนคนจน
ของภาคกลางลดลงจากร้อยละ 34.5 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 3.2 ในปี 2550 ซึ่งเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวของภาคกลางที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดของ
ประเทศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสัดส่วนคนจนต่อประชากรในภาคลดลง
น้อยกว่าภาคอื่นๆ โดยลงลงเพียงประมาณร้อยละ 25 ของอัตราความยากจนในปี 2531 แม้ว่า
สัดส่วนคนจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเหลือเพียงร้อยละ 13.1 ในปี 2550 ซึ่งปรับลดระดับ
ลงกว่าร้อยละ 56.7 จากปี 2531 แต่ก็ยังเป็นอัตราส่วนความยากจนที่สูงที่สุดของประเทศ
(ตารางที่ 3.2) ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ที่ส่งกระทบต่อภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมากที่สุด ทำให้จำนวนคนจนของทั้งสองภาคนี้เพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับภาคอื่นๆ ในช่วงปี 2541-2543 (Santisart, 2005)
63