Page 69 -
P. 69
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ตารางที่ 3.5 สัดส่วนคนจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (ร้อยละ) จำแนกตาม
องค์ประกอบครัวเรือน ปี 2550 และ 2552
องค์ประกอบครัวเรือน สัดส่วนคนจน (ร้อยละ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
2531 2550 2552 2531 2550 2552
วัยเด็ก-วัยทำงาน-วัยชรา 68.9 18.0 17.7 37.5 3.3 3.5
วัยเด็ก-วัยทำงาน 64.5 11.7 11.1 44.0 3.4 2.3
วัยทำงาน-วัยชรา 56.1 12.1 13.6 37.6 2.7 3.9
วัยเด็ก-วัยชรา 98.7 19.9 24.0 70.6 15.6 18.2
วัยเด็ก เท่านั้น - - 8.5 - 49.7 -
วัยทำงาน เท่านั้น 38.1 4.5 5.9 26.0 1.0 0.7
วัยชรา เท่านั้น 72.8 27.2 15.3 49.2 11.5 7.0
รวม 61.5 13.1 12.0 39.9 3.1 2.5
ที่มา: ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลและเผยแพร่
โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) ระดับการศึกษา
ในปี 2550 กว่าร้อยละ 70 ของคนจนทั้งประเทศมีการศึกษาระดับประถมศึกษา ในขณะที่
เพียงร้อยละ 15ไม่เคยได้รับการศึกษาใดๆ โดยสถานการณ์ความยากจนระหว่างคนมีการศึกษา
ระดับสูงและคนที่ไม่มีการศึกษาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยพบว่า คนที่ได้รับการศึกษาที่สูง
กว่าประถมศึกษาจะมีความเสี่ยงต่ำกว่าในการเข้าสู่ความยากจน ในทางกลับกัน คนที่มีการศึกษา
เพียงระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าจะมีโอกาสที่จะอยู่ในความยากจนสูงมาก หรืออาจกล่าวได้ว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและความยากจนมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาค พบว่าประมาณร้อยละ 80 ของคนจนในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือมีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ในขณะที่ผู้ที่จบระดับประถมศึกษาคิดเป็น
ร้อยละ 65 ของคนจนทั้งหมดในภาคกลางนอกจากนี้ (ภาพที่ 3.10 และ 3.11) ยังพบว่าในปี 2550
หนึ่งในสามของคนที่ไม่มีการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและร้อยละ 16 ของคนที่มีการ
68 สถาบันคลังสมองของชาติ