Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ตารางที่ 3.2 สัดส่วนคนจน (ร้อยละต่อประชากรทั้งหมด)
ภาคตะวันออก
ปี เฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง กรุงเทพฯ
2531 56.77 47.9 32.9 34.5 11.7
2535 41.1 32.7 25.2 18.3 4.4
2539 24.5 17.8 10.3 6.1 1.2
2543 35.3 23.1 16.6 9.0 1.7
2547 18.6 15.7 6.0 4.5 0.8
2550 13.1 12.9 5.9 3.1 1.1
2552 13.7 11.1 4.7 3.2 0.7
ที่มา: ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลและเผยแพร่
โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบทนับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกภาคของไทย
โดยพื้นที่ชนบทมีปัญหาความยากจนที่เรื้อรังมานานหลายศตวรรษ ในปี 2550 เกือบร้อยละ 90
ของคนจนทั้งประเทศ หรือประมาณ 4.8 ล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80
ในปี 2531 หรืออาจกล่าวได้ว่า ปัญหาความยากจนของไทยนั้นเกิดขึ้นในเขตชนบทเป็นหลัก
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นก็ยังแตกต่างกันระหว่างเขตพื้นที่ด้วย โดยพบว่า
สัดส่วนคนจนในเขตเมืองลดลงในอัตราที่เร็วกว่าในชนบท ในปี 2550 เขตเมืองมีสัดส่วนคนจน
ร้อยละ 3.4 ในขณะที่ในพื้นที่ชนบทมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 10.7 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงและยัง
ต้องรีบดำเนินการแก้ไข
ในพื้นที่ภาคกลาง พบว่า ประมาณร้อยละ 75 ของคนจนอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท อย่างไร
ก็ตาม ปัญหาความยากจนของภาคกลางก็ลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยใน
ปี 2550 สัดส่วนคนจนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 3.4 ในพื้นที่ชนบท และร้อยละ 2.3
ในเขตเมือง ในขณะเดียวกัน พบว่า กว่าร้อยละ 90 ของคนจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาศัย
อยู่ในพื้นที่ชนบท และปัญหาความยากจนในพื้นที่ชนบทลดระดับลงเร็วกว่าในเขตเมือง (ตารางที่
3.3)
64 สถาบันคลังสมองของชาติ