Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ภาพที่ 3.8 สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) จำแนกตามขนาดของครัวเรือน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2552 ครัวเรือนที่มีขนาด 7 คนขึ้นไปมีสัดส่วนคนจน
สูงสุดที่ร้อยละ 21 สะท้อนว่าแนวโน้มครัวเรือนขนาดใหญ่มีความเสี่ยงต่อปัญหายากจนสูงกว่า
ครัวเรือนขนาดเล็กในขณะที่ขนาดของครัวเรือนไม่มีนัยสำคัญใดๆ ต่อความยากจนในเขต
ภาคกลาง โดยพบว่าสัดส่วนคนจนเฉลี่ยร้อยละ 3 ในทุกขนาดครัวเรือน (ภาพที่ 3.9) นอกจากนี้
ยังพบว่าคนจนส่วนใหญ่ในภาคกลางอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสัดส่วนประมาณร้อยละ 75 ของคนจนในภาคกลางอาศัยอยู่ใน
ครัวเรือนที่มีสมาชิกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ชี้ให้เห็นลักษณะทั่วไปของครัวเรือนในภาคในครัวเรือน
ที่มีสมาชิกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ชี้ให้เห็นลักษณะทั่วไปของครัวเรือนในภาคกลางเป็นครัวเรือนขนาด
เล็กมีสมาชิกหลัก คือ พ่อแม่และลูกเท่านั้น ในปี 2550 ภาคกลางมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน
ลดลงจาก 3.6 คนในปี 2544 และต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศที่ 3.3 คนเพียงเล็กน้อย
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครัวเรือนมีขนาดใหญ่กว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ โดยครอบครัว
ในพื้นที่ชนบทส่วนมากมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายซึ่งมีจำนวนสมาชิกมาก ทำให้ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ มีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยที่ 3.6 คน
ภาพที่ 3.9 สัดส่วนคนจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (ร้อยละ) จำแนกตามขนาด
ของครัวเรือน ปี 2552
66 สถาบันคลังสมองของชาติ