Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
(4) การประกอบอาชีพ
ในปี 2550 กว่าร้อยละ 30 ของประชากรไทยอาศัยอยู่ในภาคการเกษตร โดยความยากจน
ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างต่อเนื่องในครัวเรือนเกษตรกรรม โดยกึ่งหนึ่งของคนจนทั้งหมด หรือ
ประมาณ 2.8 ล้านคนดำรงชีวิตอยู่ในภาคการเกษตร อย่างไรก็ตาม สัดส่วนคนจนในภาค
การเกษตรได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากแนวโน้มที่คนหันไป
ทำงานนอกภาคการเกษตรมากขึ้น
เมื่อพิจารณาประเภทอาชีพของคนจนแล้ว พบว่า ในปี 2550 กว่าร้อยละ 37ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม (ทั้งที่เป็นเจ้าของที่ดินเองและเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร) ซึ่งลดลงจากร้อยละ
60 ในปี 2539 อาชีพแรงงานรับจ้างเกษตรก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ มีสัดส่วนคนจน
ประมาณร้อยละ 7 ในปี 2550 ลดลงจากร้อยละ 30 ในปี 2539 ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 7 ของ
คนจนประกอบอาชีพการประมง ป่าไม้ และบริการการเกษตร และทำงานรับจ้างเกษตรแบบนอก
ฤดูกาลหรือนอกฟาร์ม สำหรับครัวเรือนที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรม สัดส่วนคนจนในปี 2550 อยู่ที่
ประมาณร้อยละ 10 ของคนจนทั้งประเทศ สูงขึ้นจากร้อยละ 5 ในปี 2539 ในขณะที่ร้อยละ 22
ของคนจนในไทยเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ อาทิ แม่บ้าน นักเรียน เด็ก
ผู้สูงอายุ คนพิการไม่สามารถทำงานได้ ผู้มีรายรับจากบำเหน็จบำนาญ
แนวโน้มดังกล่าวสะท้อนถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนภาคเกษตร
แม้ว่าเกษตรกรและแรงงานรับจ้างภาคเกษตรจะยังเป็นกลุ่มคนที่จนที่สุดในประเทศ แต่ปัญหา
ความยากจนในกลุ่มคนดังกล่าวก็ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ สัดส่วน
คนจนในครัวเรือนภาคเกษตรลดลงจากร้อยละ 30 ในปี 2539 เป็นร้อยละ 15 ในปี 2550 ในขณะ
ที่สัดส่วนคนจนในครัวเรือนนอกภาคการเกษตรลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาดังกล่าว
นอกจากนี้ อาชีพของคนจนก็แตกต่างกันระหว่างภาค โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คนจนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร เกือบร้อยละ 40 ของคนจนถือครองที่ดินและทำ
เกษตรกรรมในพื้นที่ กว่าร้อยละ 26 เป็นผู้ที่ไม่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขณะที่ คนจนส่วน
มากในภาคกลางทำงานอยู่นอกภาคการเกษตร มีเพียงร้อยละ 25 ที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตร
และร้อยละ 12 เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 50 ของจนคนทั้งหมดใน
ภาคกลางอยู่นอกภาคการเกษตร ซึ่งรวมถึงคนงาน ผู้ประกอบการ และผู้ที่ไม่ดำเนินกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจใดๆ นอกจากนี้ สัดส่วนคนจนในลูกจ้างภาคเกษตรและคนงานทั่วไปอยู่ในระดับสูงถึง
ร้อยละ 19 และ 12 ตามลำดับ ในขณะที่สัดส่วนคนจนที่เป็นเกษตรกร มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น
ในปี 2550 (ภาพที่ 3.12 ถึง 3.14 และตารางที่ 3.6)
70 สถาบันคลังสมองของชาติ