Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           3


                                                        การเปลี่ยนแปลงความยากจนในประเทศไทย


                             (5)  การใช้ประโยชน์และการถือครองที่ดิน

                             การใช้ประโยชน์จากที่ดินเป็นเรื่องสำคัญในภาคการเกษตร โดยพบว่า พื้นที่เกษตรกรรม 8
                      ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในภาคกลาง พื้นที่การเกษตรลดลง
                      จาก 15 ล้านไร่  ในปี 2530 เหลือเพียง 10 ล้านไร่ในปี 2549 ในขณะที่ พื้นที่การเกษตรในภาค
                                  9
                      ตะวันออกเฉียงเหนือไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก คือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 37 ล้านไร่ในปี 2539 เป็น
                      37.5 ล้านไร่ในปี 2549 คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 65 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ เมื่อพิจารณา
                      ลักษณะการครอบครองที่ดิน จะพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ
                      สองในการครอบครองที่ดิน โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของที่ดินการเกษตรทั้งหมด ในขณะที่ภาคกลาง
                      มีส่วนแบ่งที่ดินให้เช่ามากที่สุดร้อยละ 25 ของที่ดินการเกษตรทั้งหมด เมื่อเทียบกับภาคตะวันออก
                      เฉียงเหนือที่มีสัดส่วนที่ดินให้เช่าเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นนอกจากนี้ ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของ
                      ครัวเรือนชาวนาในชนบทยังปรับตัวดีขึ้นในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากผลผลิตข้าวต่อไร่
                      เพิ่มขึ้นในทั้งสองภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการที่เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวในที่นาได้มากกว่าปี
                      ละหนึ่งครั้งดังเช่นในอดีต จากข้อมูลดัชนีการเพาะปลูกพืชมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี  แสดงให้เห็นถึง
                                                                                  10
                      ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินสูงขึ้น โดยครัวเรือนเกษตรในภาคกลางมีการใช้ที่ดินเข้มข้นมากที่สุด
                      ส่วนหนึ่งเนื่องจากพื้นที่ภาคกลางมีที่แหล่งชลประทานในสัดส่วนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ

                             จากการศึกษาข้อมูลความยากจนระดับประเทศทำให้ทราบว่า ประมาณหนึ่งในสามของ
                      คนไทยอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ถือครองที่ดินเป็นของตัวเองและประกอบอาชีพทางการเกษตร และ
                      ประมาณร้อยละ 60 ของคนจนก็อาศัยอยู่ในครัวเรือนประเภทดังกล่าว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50
                      ในปี 2531 ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 12 ของคนจนทั้งหมดต้องเช่าที่ดินเพื่อทำกิน และร้อยละ 27
                      เป็นชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกิน หากพิจารณาเฉพาะครัวเรือนเกษตรที่มีที่ดินเป็นของตัวเองจะพบว่า
                      ปัญหาความยากจนจะขึ้นอยู่กับขนาดของที่ดินที่ถือครองด้วย โดยร้อยละ 72 ของผู้ถือครองที่ดิน
                      การเกษตรที่ยากจนจะมีที่ดินอยู่น้อยกว่า 20 ไร่ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ที่ถือครองที่ดิน 5-19 ไร่ จำนวน
                      ร้อยละ 58 และอีกร้อยละ 14 เป็นผู้ถือครองที่ดินจำนวนน้อยกว่า 5 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543
                      จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายตัวของคนจนตามขนาดที่ดินที่ถือครอง โดยครัวเรือนที่
                      ถือครองที่ดินขนาดเล็กจะประสบปัญหาความยากจนมากขึ้น แตกต่างจากครัวเรือนที่ถือครอง






                        8   ที่ดินสามารถจำแนกตามสถิติภาคการเกษตรของไทย (ข้อมูลอ้างอิง: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและ
                          สหกรณ์) ได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) พื้นที่เกษตรกรรม (2) พื้นที่ป่า และ (3) พื้นที่ที่ไม่สามารถระบุได้ โดยจากทั้งหมด
                          ประมาณ 320.69 ล้านไร่ พื้นที่เกษตรกรรมครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 130 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 41 ของที่ดินทั้งหมด
                          ในปี 2539
                        9   1 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1,600 ตารางเมตร หรือ 0.16 เฮกเตอร์ หรือ 0.4 เอเคอร์
                       10   ข้อมูลอ้างอิงสำนักงานเศรษญกิจการเกษตร





                                                                                             73
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79