Page 77 -
P. 77

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                     ในแต่ละภูมิภาคนั้น ความแตกต่างทางด้านรายได้ของครัวเรือนที่ยากจนเองก็ยังมีให้เห็น
               อยู่มาก ในปี 2550 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนยากจนในกรุงเทพสูงกว่ารายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือน
               ยากจนทั่วประเทศเกือบสองเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับภาคเหนือและภาคอีสาน
               นอกจากนั้นในด้านการเติบโตของรายได้ จะเห็นได้ว่ารายได้ครัวเรือนเฉลี่ยในกรุงเทพเพิ่มขึ้น
               ร้อยละ20 ต่อปี ในช่วงปี 2539 ถึงปี 2550 ในขณะที่ภาคอีสานมีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่ามาก
               เป็นการชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างทางด้านรายได้มีช่องว่างที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกันระหว่างในกรุงเทพ
               กับภูมิภาคอื่นๆ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนยากจนในอีสานจะต่ำกว่าภาคกลางเล็กน้อย
               (ตารางที่ 3.7)



               ตารางที่  3.7 รายได้ครัวเรือนยากจน รายภาค




                                            รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (บาท)   การเจริญเติบโต( %)
                                          ปี 2549          ปี 2550

                   อีสาน                   4,702            5,165            9.85
                   เหนือ                   4,115            4,611            12.07

                   ใต้                     5,409            5,841            7.98
                   กลาง                    5,296            5,339            0.82
                   กรุงเทพฯ                6,465            10,106           56.32

                   รวม                     4,671            5,143            10.10

               ที่มา:  ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลและเผยแพร่
                   โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


                     เมื่อจำแนกตามประเภทของรายได้ ครัวเรือนยากจนในประเทศมีรายได้จาก (1) กำไรสุทธิ

               จากการทำไร่ทำนา และ (2) ค่าแรงและเงินเดือน โดยแต่ละประเภทคิดเป็นร้อยละ 22 ของรายได้
               ทั้งหมด สัดส่วนของกำไรสุทธิจากการเกษตรของครัวเรือนต่อรายได้ทั้งหมดของประเทศลดลง
               อย่างต่อเนื่องในตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่ค่าแรงและเงินเดือนกลายมาเป็นรายได้หลัก
               ของครัวเรือนยากจนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกันกับรูปแบบรายได้ของครัวเรือนทั่วประเทศ รายได้
               จากทั้งค่าแรงและเงินเดือน และกำไรสุทธิจากธุรกิจเป็นรายได้หลักของครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่

               ที่อัตราส่วนประมาณร้อยละ 40 และร้อยละ 20 ตามลำดับ กำไรสุทธิจากการเกษตรคิดเป็น







               76 สถาบันคลังสมองของชาติ
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82