Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
นอกจากนี้ คนจนส่วนใหญ่ยังมีการศึกษาในระดับต่ำ โดยในปี 2552 กว่าร้อยละ 70 ของคนจน
ทั้งประเทศมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา ในขณะที่ อีกร้อยละ 15 ไม่เคยได้รับการศึกษา
ใดๆ ส่งผลให้ผู้ที่มีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าจะมีโอกาสที่จะอยู่ในความ
ยากจนสูงมากและในทางกลับกัน เนื่องจากระดับการศึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างโอกาส
การมีงานทำหรือการประกอบอาชีพ สัดส่วนคนจนจึงลดลงตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านขนาดของพื้นที่
ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน ซึ่งมีความได้เปรียบในการเพาะปลูกมากเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ
ในภูมิภาค แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาในชนบทของไทยที่แม้จะ
ถือครองที่ดินทำกิน แต่ยังเป็นกลุ่มที่ยากจน หรือมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนจาก
ข้อมูลพบว่าประมาณสองในสามของคนจนในภาคเกษตรถือครองที่ดินน้อยกว่า 20 ไร่ โดยผู้ที่มี
ที่ดินน้อยกว่า 5 ไร่ มีความเสี่ยงต่อความยากจนสูงที่สุด
ในส่วนของโครงสร้างรายได้ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนยากจนในภาคอีสานส่วนใหญ่มี
รายได้จากกำไรสุทธิจากภาคการเกษตร และเงินรายได้ที่ส่งกลับมาจากสมาชิกที่ไปทำงานต่างถิ่น
ซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบการประกอบอาชีพของคนจนในภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในภาค
การเกษตรบนพื้นที่นาของตัวเอง นอกจากนี้ การที่ครัวเรือนมีอัตราส่วนของรายได้จากเงินส่งกลับ
สูงนั้น แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในภาคอีสาน สมาชิกในวัยแรงงานจะ
ย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นและส่งเงินกลับมาบ้านเกิดนั้นยังคงเป็นรายได้หลักของคนในภาคนี้
ในทางกลับกัน แหล่งที่มาของรายได้สูงสุดของครัวเรือนยากจนในเขตภาคกลางมาจากรายได้จาก
ค่าแรงและเงินเดือน ซึ่งสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของคนจนในภาคกลางที่ส่วนใหญ่
เป็นลูกจ้างในภาคการเกษตร การผลิต และแรงงานรับจ้างในภาคก่อสร้าง
KNIT
80 สถาบันคลังสมองของชาติ