Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน
ตารางที่ 4.1 (ต่อ)
ประเภทสินทรัพย์ ลักษณะ ตัวแปรสำคัญ
ทุนกายภาพ การใช้เครื่องมือ • มูลค่าเครื่องจักรที่ใช้
เครื่องจักร • จำนวนเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ครอบ
ครอง
4.2.1 ลักษณะเชิงโครงสร้างประชากรของครัวเรือน (demographics)
จากการเปรียบเทียบลักษณะประชากรครัวเรือนทั้งหมด 240 ครัวเรือนในตาราง 4.2 พบ
11
ว่า ขนาดของครัวเรือน เฉลี่ยลดลงจาก 5.0 ในปี 2531 เป็น 4.3 คนต่อครัวเรือนในปี 2552 โดย
ลดลงในทุกพื้นที่ของทั้งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวม
ประชากรของประเทศไทยที่มีอัตราขยายตัวลดลง โดยในช่วงปี 2528-2533 อัตราการเพิ่มขึ้นของ
ประชากรของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.9 ลดลงเป็นร้อยละ 0.5 ในช่วงปี 2553-2558 (UN,
2011) เมื่อพิจารณาโครงสร้างจำนวนสมาชิกในครัวเรือนจำแนกตามเพศและอายุ พบว่า
12
สัดส่วนประชากรเด็ก (อายุแรกเกิด-14 ปี) ลดลง เช่นเดียวกับจำนวนประชากรในวัยแรงงาน (อายุ
15-59 ปี) ในขณะที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มดังกล่าว
สะท้อนให้ในข้อมูลอัตราภาระพึ่งพิง เพิ่มขึ้นโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก
13
เฉียงเหนือที่อัตราการพึ่งพิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.7 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 79.3 ในปี 2552
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรในวัยเด็ก และประชากรในวัยแรงงานลดลง ในขณะที่
ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มประชากรของประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครัวเรือนที่มีสัดส่วนประชากรในวัยแรงงานลดลง ในขณะที่
14
มีประชากรในวัยสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการขาดแคลนกำลังแรงงานของ
ครัวเรือนภาคเกษตรในพื้นที่ชนบทของไทยที่มีมากขึ้น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของหัวหน้า
ครัวเรือน พบว่า อายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันหัวหน้าครัวเรือนที่เป็น
เพศหญิงก็มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 14.4 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 34.9 ในปี 2552
11 นิยามครัวเรือน คือสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกันและแบ่งปันการอยู่การกินมากกว่าหกเดือนติดต่อกันก่อนช่วง
สำรวจ
12 ข้อมูลจาก http://esa.un.org/unpd/wpp/unpp/p2k0data.asp
13 อัตราการพึ่งพิง (dependency ratio) คำนวณจาก (จำนวนประชากรวัยเด็ก บวก จำนวนประชากรผู้สูงอายุ) หารด้วย
จำนวนประชากรในวัยแรงงาน คูณ 100
14 รายงานแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้สูงอายุอย่างบูรณาการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2552
85