Page 88 -
P. 88

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           4


                                                            รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน


                      4.2.2 ทุนทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน (human capital)


                             ในการวิเคราะห์ทุนมนุษย์จะพิจารณาจากระดับการศึกษาของหัวหน้าและสมาชิก

                      ครัวเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในวัยแรงงาน พบว่า จากตารางที่ 4.3 ชี้ให้เห็นว่าครัวเรือน
                      โดยรวม มีระดับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น โดยการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก
                      เฉลี่ย 3 ปี เป็น 4.8 ปี ในขณะที่การศึกษาของสมาชิกในครัวเรือนในวัยแรงงานมีการศึกษาโดย
                      เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงจาก 4.2 ปี เป็น 7.0 ปี โดยเมื่อแยกตามระดับการศึกษา พบว่า สมาชิกครัวเรือนใน
                      วัยแรงงานที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษามีสัดส่วนลดลงเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับจำนวน
                      สมาชิกครัวเรือนทั้งหมด คือ จากประมาณร้อยละ 70.7 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 49 ในปี 2552 ใน

                      ขณะที่ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย และระดับมหาวิทยาลัย
                      มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีสัดส่วนสมาชิกใน
                      วัยแรงงานจบการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก จากร้อยละ 5.3 ในปี 2531 สูงขึ้นเป็นร้อยละ 33.3 ในปี 2552
                      มีเพียงร้อยละ 1.3 ที่ไม่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากผลการ
                      ศึกษาของ Booth (1997) ในช่วงปี 2526 ถึง 2533 ว่ามีผู้เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                      ต่ำมากประมาณร้อยละ 2.6 โดยอธิบายว่าครัวเรือนส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่ในชนบทไม่สามารถ
                      ส่งเสียบุตรหลานให้เข้าเรียนต่อในโรงเรียนระดับมัธยมซึ่งตั้งอยู่ในตัวเมืองได้ เนื่องจากมีต้นทุน
                      ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทั้งค่าเล่าเรียน และค่าเดินทางมาก ในปัจจุบัน สัดส่วนของผู้ที่จบการ
                      ศึกษาในระดับมัธยมศึกษามากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบการศึกษาภาคบังคับของไทยที่ให้
                      เปลี่ยนจากระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2521 และปรับเพิ่มเป็นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี 2540
                      อย่างไรก็ดี สมาชิกครัวเรือนที่อยู่ในกำลังแรงงานเกือบครึ่งหนึ่งจบการศึกษาในระดับประถม

                      ศึกษา ในขณะที่ผู้ที่จบการศึกษาในระดับสูงกว่าประถมศึกษามีแนวโน้มออกไปหางานทำนอก
                      พื้นที่มากกว่าที่จะอาศัยและทำงานภาคเกษตรในพื้นที่

























                                                                                             87
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93