Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน
ตารางที่ 4.4 การเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของหัวหน้าครัวเรือน ปี 2531/2552
แรงงาน ผู้ประกอบ
เกษตรกร รับจ้างภาค แรงงานนอก ผู้มีเงินเดือน ธุรกิจ ผู้ว่างงาน
เกษตร ภาคเกษตร ประจำ ส่วนตัว
รวม 54.6 3.8 6.7 3.8 5.0 26.3
ภาคกลาง 48.6 6.5 3.7 1.9 6.8 32.7
ภาคอีสาน 59.4 1.5 9.0 5.3 3.8 21.1
ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจ
4.2.3 ที่ดิน (land asset)
(1) ขนาดและการใช้ที่ดิน
ทรัพยากรที่ดินถือเป็นทรัพยากรที่ประเทศไทยมีมากและอุดมสมบูรณ์เมื่อเปรียบเทียบกับ
หลายประเทศในภูมิภาค และครัวเรือนเกษตรในชนบทส่วนใหญ่ครอบครองที่ดินในการทำการ
เกษตรเป็นของตัวเอง ในปี 2552 ประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรรวม 131.6 ล้านไร่ จากพื้นที่
ทั้งหมดของประเทศ 320.7 ล้านไร่เป็นที่นาประมาณ 66.1 ล้านไร่ ขนาดของที่ดิน 22.4 ไร่
ต่อครัวเรือน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2553) ลดลงจากในปี 2531ที่มีพื้นที่ทำการเกษตร
131.8 ล้านไร่ เป็นที่นา 76.8 ล้านไร่ และมีขนาดของที่ดิน 26.2 ไร่ต่อครัวเรือน ในขณะที่ข้อมูลจาก
การสำรวจในตาราง 4.5 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่สอดคล้องกับภาพรวมของประเทศ ขนาดที่ดิน
(farm size) ที่ครัวเรือนครอบครองลดลงเล็กน้อยจากเฉลี่ย 26.9 ไร่ต่อครัวเรือน ในปี 2531
เป็น 21.9 ไร่ต่อครัวเรือน ในปี 2552 หากพิจารณารายภาค จะพบว่าครัวเรือนในภาคกลางมีขนาด
ของที่ดินใหญ่กว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของการถือ
ครองที่ดิน โดยภาคกลางมีขนาดที่ดิน 38.1 ไร่ต่อครัวเรือน ในปี 2531 ลดลงเล็กน้อยเป็น 35 ไร่
ต่อครัวเรือน ในปี 2552 เป็นผลจากการลดลงของขนาดที่ดินของครัวเรือนในพื้นที่นาน้ำฝน
แต่ครัวเรือน ในพื้นที่ชลประทานและน้ำท่วมมีขนาดที่ดินเพิ่มขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีการถือครองลดลงอย่างมากจาก 15.6 ไร่ เป็น 9.4 ไร่ในปี 2552 โดย
ครัวเรือนที่มีการถือครองที่ดินลดลงส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนพื้นที่ในเขตนาน้ำฝนและเขตแห้งแล้ง
ซึ่งมีผลตอบแทนจากการทำนาน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับครัวเรือนในเขตชลประทาน จากการ
สอบถามหลายครัวเรือนให้เหตุผลของการขายที่นาของตัวเองให้กับครัวเรือนอื่น และนักธุรกิจจาก
ตัวเมือง หรือจากกรุงเทพมหานครว่าเพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินที่มีอยู่ ขณะเดียวกัน ขนาดของที่ดิน
ที่เล็กลงเป็นผลจากการถ่ายโอนมรดกให้กับลูกหลานซึ่งเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดกันมาของ
ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
89