Page 94 -
P. 94

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           4


                                                            รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน


                             หากอธิบายในรูปของเมตริกซ์การเปลี่ยนขนาดการถือครองที่ดิน (mobility of landholding)
                      ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย ระหว่างปี 2531 และ 2552 ในตาราง 4.9
                      ก็แสดงทิศทางเช่นเดียวกัน โดยพบว่าครัวเรือนที่มีที่ดินขนาดใหญ่หันไปถือครองที่ดินขนาดเล็ก
                      มากขึ้น ประมาณร้อยละ 45.7 ของครัวเรือนที่มีที่ดินขนาด 30 ไร่ เปลี่ยนไปถือครองที่ดินขนาด
                      ต่ำกว่า 5 ไร่ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 17 ยังคงครองที่ดินเท่าเดิม ในทางตรงข้าม ร้อยละ 53.8
                      ของครัวเรือนที่ถือครองที่ดินขนาดเล็ก ยังคงถือครองที่ดินขนาดเล็ก มีเพียงร้อยละ 5 ที่ถือครอง
                      ที่ดินที่มีขนาดใหญ่ 30 ไร่ขึ้นไป


                      ตารางที่  4.9 การเปลี่ยนขนาดการถือครองที่ดิน (mobility of landholding) (%)




                           2552      น้อยกว่า                                           30 ไร่

                        2531           5 ไร่   5-10 ไร่   10-15 ไร่   15-20 ไร่  20-30 ไร่  ขึ้นไป



                        น้อยกว่า 5 ไร่   53.8    20.5      7.7       5.1       7.7       5.1
                           5-10        40.0      26.7      13.3      6.7       2.2      11.1
                           10-15       24.2      30.3      6.1       9.1       9.1      21.2
                           15-20       35.7      17.9      14.3      3.6      14.3      14.3
                           20-30       28.0      24.0      4.0       16.0     12.0      16.0
                          30 ขึ้นไป    45.7      7.1       14.3      2.9      12.9      17.1

                      ที่มา:  ข้อมูลจากการสำรวจ


                             (3)  ลักษณะการถือครองที่ดิน

                             ในระยะยี่สิบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนมีรูปแบบการถือครองที่ดินเปลี่ยนไป กล่าวคือครัวเรือน
                      ที่ทำการเกษตรบนที่ดินของตัวเองมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ครัวเรือนที่ทำการเกษตรโดยการเช่า
                      ที่ดินมีสัดส่วนมากขึ้น แม้ครัวเรือนที่มีที่นาเป็นของตัวเองจะมีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 80 ลดลง
                      จากร้อยละ 90 ในปี 2531 ส่วนครัวเรือนที่เช่าที่ดินผู้อื่นเพื่อทำการเกษตร (rented in) มีสัดส่วน
                      เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.8 ในขณะที่สัดส่วนของครัวเรือนที่ให้ผู้อื่นเช่าที่ดินของตัวเอง (rented out)
                      อยู่ที่ร้อยละ 4.6 (ตารางที่ 4.10) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สมาชิกครัวเรือนที่อยู่ในกำลังแรงงาน
                      ทำงานนอกภาคเกษตรมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่อีกส่วนย้ายเข้าไป
                      ทำงานในเมือง ส่งผลให้ครัวเรือนขาดแคลนกำลังแรงงานที่จะทำงานในภาคเกษตร ทำให้จำเป็น
                      ต้องให้ผู้อื่นเช่าที่ดิน หรือขายที่ดินไป โดยพบว่าครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเนื่องจาก
                      สมาชิกในครัวเรือนหันไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรทั้งหมด มีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.6






                                                                                             93
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99