Page 96 -
P. 96
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน
ตารางที่ 4.11 ประเภทการเช่าที่ดิน*
ทั้งประเทศ ภาคกลาง ภาคอีสาน
2531 2552 2531 2552 2531 2552
ที่ดินทั้งหมด 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ที่ดินของตัวเอง 80.0 74.0 71.0 65.0 89.0 84.0
เช่าที่ดิน
• แบบค่าเช่าคงที่ (fixed-rent) 14.0 24.0 25.0 35.0 3.0 12.0
• แบบแบ่งสัดส่วน (sharecropping) 6.0 2.0 4.0 0.0 8.0 4.0
หมายเหตุ * ถ่วงน้ำหนักเฉพาะครัวเรือนที่ทำนา
ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจ
4.3 รายได้ครัวเรือนและองค์ประกอบของรายได้
ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความยากจนแบบพลวัตข้ามช่วงเวลา ตัวแปรสำคัญที่จะ
ต้องนำมาพิจารณาความยากจนคือระดับรายได้และองค์ประกอบรายได้ของครัวเรือน โดยทั่วไป
17
องค์ประกอบของรายได้ครัวเรือนในชนบทแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มหลักคือรายได้ภาคเกษตร
และรายได้นอกภาคเกษตร (Barrett et al., 2001) ในปี 2531 ครัวเรือนมีรายได้แท้จริง
18
เฉลี่ย 125,125 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 258,699 บาทในปี 2552 และรายได้ครัวเรือนต่อหัวเท่ากับ
27,083 บาท เพิ่มเป็น 69,112 บาท โดยมีอัตราการขยายตัวของรายได้เฉลี่ยร้อยละ 3.5 และ
17 การคำนวณความยากจนมีทั้งทางรายได้และรายจ่าย แต่ในงานวิจัยชิ้นนี้คำนวณจากด้านรายได้ เนื่องจากข้อฒุลเดิมที่
จัดเก็บในปี 2531 มีเฉพาะข้อมูลรายได้ครัวเรือน ซึ่งเชื่อมโยงไปยังโครงสร้างการประกอบอาชีพและการสร้างโอกาสทาง
เศรษฐกิจได้ชัดเจนกว่า
18 (1) รายได้ภาคเกษตร ประกอบด้วย รายได้สุทธิจากข้าว รายได้สุทธิจากพืชผลอื่นที่ไม่ใช่ข้าว, รายได้สุทธิจากผลผลิตที่
ไม่ใช่พืชผล (ปศุสัตว์, เป็ดไก่,ประมง, ป่าไม้) รายได้จากค่าจ้างแรงงานภาคเกษตร และรายได้จากการให้เช่าดิน
เครื่องจักร และผลตอบแทนจากดอกเบี้ย (2) รายได้นอกภาคเกษตรประกอบด้วย รายได้จากค่าจ้างแรงงานนอกภาค
เกษตร (อาทิ ภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรม ขนส่ง และบริการ) ผลกำไรจากกิจการส่วนตัว รายได้ส่งกลับ รายได้จากเบี้ย
คนชรา รายได้จากเบี้ยคนพิการ และอื่นๆ
95