Page 101 -
P. 101
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
หรือเขียนในรูปง่ายๆ คือ
(4.2)
โดย n p คือ จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน n คือ ครัวเรือนทั้งหมด
และ P 0 คือ สัดส่วนคนจน
(2) ดัชนีวัดช่องว่างความยากจน (poverty gap) เป็นตัวชี้วัดว่าคนจนเหล่านั้นมี
ระดับรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากน้อยเพียงใดโดยเป็นการหาค่าเฉลี่ยช่องว่างระหว่าง
เส้นความยากจนกับรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของครัวเรือนยากจนซึ่งสะท้อนว่าคนจนที่มีรายได้
ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากก็จะมีความยากลำบากมากกว่า ดังสมการที่ (4.3)
(4.3)
G i = (z-y i) × I(y i<z)
โดย G i คือ ช่องว่างระหว่างรายได้และเส้นความยากจน และ P 1 คือ ดัชนีวัดช่องว่าง
ความยากจน
(3) ดัชนีความรุนแรงของความยากจน (severity of poverty) เป็นตัวชี้วัดภาวะ
การกระจายรายได้ในกลุ่มคนจนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน (ซึ่งมักใช้สำหรับเปรียบเทียบความ
รุนแรงของความยากจนระหว่างกลุ่มประชาชนในห้วงเวลาต่างกัน) เป็นการวัดที่พิจารณาให้
ความสำคัญกับกลุ่มคนจนที่มีปัญหาความยากจนรุนแรงหรือมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน
มากๆ เพื่อบ่งชี้ภาวะการกระจายรายได้ในกลุ่มคนจนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนโดยทำการถ่วง
น้ำหนักมากให้กับค่าที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนมาก ดังสมการที่ (4.4)
(4.4)
โดย P 2 คือ ดัชนีความรุนแรงของความยากจน
100 สถาบันคลังสมองของชาติ