Page 105 -
P. 105

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                4.5   ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ

                      ของครัวเรือน และสินทรัพย์ที่ครัวเรือนครอบครอง


                      จำแนกตามกลุ่มพลวัตความยากจน





                     หากพิจารณาตามลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญของครัวเรือน โดยจำแนกตาม
               4 กลุ่มพลวัตความยากจน ในปี 2531 และ 2552 จะสามารถเห็นความแตกต่างของลักษณะใน
               แต่ละกลุ่มครัวเรือน ซึ่งการแจกแจงลักษณะที่แตกต่างนี้มีความสำคัญมากในการกำหนดความ
               สัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดพลวัตความยากจนในแต่ละกลุ่ม


               4.5.1 ลักษณะเชิงโครงสร้างประชากรของครัวเรือน (demographics)


                     ลักษณะโครงสร้างประชากรของครัวเรือนแตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่มพลวัตความ
               ยากจน โดยครัวเรือนที่ยากจนเรื้อรังมีค่าเฉลี่ยของลักษณะเชิงโครงสร้างประชากรโดยทั่วไปสูง
               กว่าระดับเฉลี่ยของประเทศโดยรวมในทั้งสองปีที่ทำการศึกษา คือ ปี 2531 และ 2552 ข้อมูลที่เห็น
               ได้อย่างชัดเจนคือ อายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนที่ยากจนเรื้อรังมีอายุสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่ม
               ความยากจนอื่น และสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ นอกจากนี้ ครัวเรือนยากจนเรื้อรังยังมีอัตรา
               ภาระการพึ่งพิงหรือภาระในการเลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนสูงกว่ากลุ่มความยากจนอื่นและสูงกว่า
               ขนาดเฉลี่ยรวมของประเทศ รวมทั้งมีสัดส่วนของหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเพศหญิงสูงกว่าระดับ
               เฉลี่ย จากข้อมูลชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างลักษณะของครัวเรือนยากจนเรื้อรัง
               และครัวเรือนยากจนครั้งคราว ในขณะที่ขนาดของครัวเรือนกลับดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง
               ระหว่างกลุ่มความยากจนเรื้อรังและกลุ่มยากจนครั้งคราว โดยพบว่าขนาดของครัวเรือนมีขนาด
               ใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของขนาดครัวเรือนลดลงจากในปี 2531 เช่นเดียวกัน
               ในทุกกลุ่ม

                     เมื่อพิจารณาครัวเรือนยากจนชั่วคราวจะพบว่ามีความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากร
               ของกลุ่มครัวเรือนออกจากความยากจนและครัวเรือนเข้าสู่ความยากจนเช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้อง
               กับผลการศึกษาในหลายประเทศกำลังพัฒนาที่กล่าวว่าปัจจัยทางโครงสร้างประชากรเป็นปัจจัย
               สำคัญในการกำหนดความยากจนครั้งคราวมากกว่าความยากจนเรื้อรัง เป็นข้อสมมุติฐานเบื้องต้น
               ของการวิจัยนี้ตามที่ได้กล่าวถึงในบทที่ 2 (McCulloch and Baulch, 2000; McKay and Lawson,
               2002; Sen, 2003) ปัจจัยสำคัญที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของครัวเรือน
               โดยพบว่า ครัวเรือนที่กลับเข้าสู่ความยากจนมีขนาดครัวเรือนแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงนั่นคือ 4.5 คน






               104 สถาบันคลังสมองของชาติ
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110