Page 107 -
P. 107

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



               ตารางที่  4.15  (ต่อ)



                                                 จนครั้งคราว

                                 จนเรื้อรัง  ออกจาก      เข้าสู่    ไม่เคยจน    รวม
                                            ความจน      ความจน

                               2531  2552  2531  2552  2531  2552  2531  2552  2531  2552
                สัดส่วนสมาชิกครัวเรือน (%)

                  0-14         27.0  22.0  30.0  14.0  35.0  16.0  22.0  10.0  28.0  13.0
                  15-59        63.0  37.0  62.0  59.0  65.0  47.0  65.0  62.0  60.0  59.0

                  60+          10.0  41.0   8.0   27.0  18.0  37.0  13.0  28.0  13.0  30.0
                อัตราภาระพึ่งพิง    65.5  149.6  62.7  60.0  74.6  101.8  54.8  55.8  62.5  74.6
                (%)

               ที่มา:  ข้อมูลจากการสำรวจ

                     นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม
               ครัวเรือนที่เข้าสู่ความยากจน และเมื่อพิจารณาสมาชิกครัวเรือนแยกตามวัยพบว่า ครัวเรือนที่
               กลับเข้าสู่ความยากจนมีอัตราส่วนภาระพึ่งพิงเพิ่มขึ้นมากโดยเป็นผลจากจำนวนสมาชิกในวัยชรา
               สูงขึ้น ในขณะที่สมาชิกในวัยแรงงานที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัวกลับมีสัดส่วนลดลงมาก สะท้อนให้
               เห็นว่าปัจจัยทางด้านวัฏจักรชีวิตมีผลต่อพลวัตความยากจนของครัวเรือน



               4.5.2 ทุนทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน (human capital)

                     จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ พบว่าในปี 2552 ทุกครัวเรือนจะมีระดับการศึกษาเฉลี่ย
               เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2531 แต่ครัวเรือนกลุ่มยากจนเรื้อรังมีระดับการศึกษาเฉลี่ยของหัวหน้า
               ครัวเรือนและการศึกษาของสมาชิกในวัยแรงงานอยู่ในระดับต่ำกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น และต่ำกว่ากลุ่ม
               ไม่เคยยากจนเกือบ 1.5 เท่า ส่วนต่างระหว่างกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างใน
               การลงทุนทางการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยและความเหลื่อมล้ำในการได้รับการ
               ศึกษา เมื่อจำแนกสมาชิกในวัยกำลังแรงงานตามลำดับชั้นการจบการศึกษาแล้ว จะพบว่าครัวเรือน
               ยากจนเรื้อรังส่วนใหญ่มีสัดส่วนผู้ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประถมศึกษามากกว่ากลุ่มยากจนครั้งคราว
               และสัดส่วนสมาชิกที่จบในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นมีสัดส่วนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ
               กลุ่มยากจนอื่น (ตารางที่ 4.16)







               106 สถาบันคลังสมองของชาติ
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112