Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน
ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนในกลุ่มออกจากความยากจนและกลุ่มเข้าสู่
ความยากจนก็ พบว่ามีความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยกลุ่มที่สามารถออกจากความยากจนได้มี
ระดับการศึกษาเฉลี่ยของทั้งหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกในวัยแรงงานเฉลี่ยสูงกว่า นอกจากนี้
สมาชิกในวัยแรงงานของกลุ่มออกจากความยากจนได้มีสัดส่วนผู้ที่จบการศึกษาในระดับสูงกว่า
มัธยมศึกษาตอนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2552 มีสัดส่วนผู้ที่จบระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นสูง
กว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนในกลุ่มยากจนอื่น ในขณะที่มีสัดส่วนผู้ที่จบการศึกษาในระดับประถม
ศึกษาอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับการศึกษา พบว่าไม่มี
ความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มมากนัก โดยกลุ่มที่เข้าสู่ความยากจนมีการเพิ่มขึ้นของระดับ
การศึกษาในอัตราที่รวดเร็วเช่นกัน โดยระดับการศึกษาเฉลี่ยของสมาชิกในวัยแรงงานเพิ่มขึ้นจาก
3 ปี เป็น 6 ปีเทียบกับกลุ่มออกจากความยากจนเพิ่มจาก 4 ปี เป็น 7 ปี ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า
ระดับการศึกษาเริ่มต้นมีผลต่อความยากจนมากกว่าระดับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้อาจเป็น
ผลเนื่องจากทุกครัวเรือนได้รับการศึกษาภาคบังคับมากขึ้น
ตารางที่ 4.16 ระดับการศึกษา จำแนกตามกลุ่มพลวัตความยากจน
จนครั้งคราว
จนเรื้อรัง ออกจาก เข้าสู่ ไม่เคยจน รวม
ความจน ความจน
2531 2552 2531 2552 2531 2552 2531 2552 2531 2552
การศึกษาหัวหน้า 2.6 4.2 3.0 4.9 2.8 4.5 3.2 4.9 3.0 4.8
ครัวเรือน (ปี)
การศึกษาสมาชิกวัย 3.1 5.9 4.2 7.2 3.2 6.0 4.5 7.4 4.2 7.0
กำลังแรงงาน (ปี)
สัดส่วนสมาชิกวัยกำลังแรงงาน (%)
ต่ำกว่าประถม 29.0 0.0 24.0 0.0 23.0 3.0 21.0 0.0 24.7 1.3
ประถมศึกษา 68.0 57.0 67.0 51.0 75.0 62.0 66.0 43.0 70.7 49.0
มัธยมศึกษาตอนต้น 3.0 31.0 4.0 34.0 1.0 27.0 8.0 23.0 5.3 33.3
มัธยมศึกษา 1.0 11.0 2.0 15.0 1.0 12.0 4.0 16.0 2.4 12.8
ตอนปลาย
107