Page 103 -
P. 103

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



               ตารางที่  4.13  (ต่อ)



                          (%)            ทั้งประเทศ     ภาคกลาง     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                       2531   2552   2531   2552      2531      2552
                 เส้นความยากจน*         557   1488    645    1563     500        1452
                 (บาทต่อคนต่อเดือน)

               หมายเหตุ   * ตัวเลขในวงเล็บแสดงข้อมูลดัชนีความยากจนในพื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นข้อมูลของประเทศที่เผยแพร่อย่าง
                        เป็นทางการ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2553)
               ที่มา:  ข้อมูลจากการสำรวจ




               4.4.2 รูปแบบพลวัตความยากจน

                     โดยทั่วไป รูปแบบพลวัตความยากจนสามารถคำนวณหาได้จากการวิเคราะห์เมตริกซ์
               การเปลี่ยนผ่าน (transition matrix analysis) โดยเริ่มจากการคำนวณฐานะความยากจนของ
               แต่ละครัวเรือนในปี 2531 และปี 2552 แล้วนำมาสร้างเมตริกซ์เปรียบเทียบระหว่างสองช่วงเวลา
               ซึ่งผลจากการวิเคราะห์จะสามารถแบ่งความยากจนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

                     •  กลุ่มจนเรื้อรัง (chronic poor) ได้แก่ ครัวเรือนที่ตกอยู่ในความยากจนทั้งในปี 2531
                        และ 2552

                     •  กลุ่มออกจากความยากจน (move out of poverty) ได้แก่ ครัวเรือนที่อยู่ในความ
                        ยากจนปี 2531 แต่ไม่อยู่ในความยากจนปี 2552

                     •  กลุ่มเข้าสู่ความยากจน (move into poverty) ได้แก่ ครัวเรือนที่ไม่อยู่ในความยากจน
                        ปี 2531 แต่ตกอยู่ในความยากจนปี 2552
                     •  กลุ่มไม่เคยจน (never poor) ได้แก่ ครัวเรือนที่ไม่อยู่ในความยากจนทั้งในปี 2531 และ
                        2552

                     จากผลการวิเคราะห์ จะได้รูปแบบพลวัตความยากจน คือ ร้อยละ 10 ของครัวเรือนเป็น
               ครัวเรือนยากจนเรื้อรัง (chronic poor) นั่นคือตกอยู่ในความยากจนทั้งปี 2531 และ 2552
               ในขณะที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 50 เป็นครัวเรือนยากจนชั่วคราว (transient poor)
               นั่นคือตกอยู่ในความยากจนในปี 2531 หรือ 2552 ปีใดปีหนึ่ง โดยร้อยละ 42 เป็นครัวเรือนที่
               สามารถออกจากความยากจนได้ (moving out of poverty) และร้อยละ 8 เป็นครัวเรือนที่กลับเข้าสู่








               102 สถาบันคลังสมองของชาติ
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108