Page 102 -
P. 102

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           4


                                                            รูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน


                             งานวิจัยนี้ได้คำนวณตัวชี้วัดความยากจนทั้งสามตัวชี้วัด โดยใช้เส้นความยากจนทางการ
                      ที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติผลการคำนวณ
                      ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าดัชนีทั้งสามตัวมีทิศทางสอดคล้องกับข้อมูลดัชนีระดับประเทศและ
                      ระดับภาค นั่นคือดัชนีทั้งสามตัวปรับตัวลดลง 22

                             จากตารางที่ 4.13 ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนคนจน (headcount ratio) ลดลงอย่างชัดเจนจาก
                      ร้อยละ 51.7 เป็นร้อยละ 16.7 ในปี 2552 โดยเป็นการลดลงของคนจนในภาคตะวันออกเฉียง
                      เหนือในมากกว่า คือ ลดลงจากร้อยละ 68.4 เป็นร้อยละ 21.1 ส่วนภาคกลางลดลงจากร้อยละ
                      30.8 เป็นร้อยละ 11.2 สะท้อนว่าความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ครัวเรือนระหว่างภูมิภาคลดลง
                      อย่างไรก็ดี สัดส่วนคนจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงสูงกว่าภาคกลาง สำหรับช่องว่าง
                      ความยากจนและความรุนแรงของความยากจนลดลงเช่นเดียวกัน


                       ตารางที่  4.13  ดัชนีความยากจนของครัวเรือนที่สำรวจ



                                                ทั้งประเทศ     ภาคกลาง      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                                 (%)
                                              2531   2552   2531    2552     2531       2552
                        สัดส่วนคนจน            51.7   16.7   30.8   11.2     68.4       21.1
                        Official rate*        (49.7)  (10.4)  (36.5)   (3.0)   (60.6)   (15.2)

                        ช่องว่างความยากจน      20.3   6.4    9.7    4.1      28.9       8.3
                        Official rate*        (13.6)   (1.8)   (9.2)   (0.4)   (17.3)   (2.5)

                        ความรุนแรงความยากจน    10.4   3.2    4.2    1.9      15.3       4.3
                        Official rate*         (5.2)   (0.5)   (3.4)   (0.1)   (6.7)    (0.6)








                      22  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ทำการปรับปรุงเส้นความยากจนให้มีความทันสมัย
                        และเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น โดยได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำการศึกษาและ
                        นำเสนอผลเบื้องต้น และได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนการวิจัยจาก United Nations Development Programs (UNDP)
                        โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม (SES) ปี 2545 เป็นปีฐานในการคำนวณ ซึ่ง SES2545 สะท้อน
                        แบบแผนการบริโภคของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม และ
                        รวมผลของวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ด้วย และใช้ข้อมูลโครงสร้างประชากรใหม่ ตามสำมะโนประชากรในปี 2543 นอกจากนี้
                        ยังใช้ข้อมูลความต้องการสารอาหาร (แคลอรีและโปรตีน) แยกตามอายุและเพศ ปี 2546 ของกรมอนามัย กระทรวง
                        สาธารณสุข





                                                                                            101
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107