Page 99 -
P. 99
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ตารางที่ 4.12 (ต่อ)
ทั้งประเทศ ภาคกลาง ภาคอีสาน
2531 2552 2531 2552 2531 2552
รายได้ครัวเรือน ณ ราคาคงที่* (พันบาท) 125.13 258.70 186.76 344.37 755.54 189.77
รายได้ครัวเรือนต่อหัว ณ ราคาคงที่ 27.08 69.11 40.16 101.67 16.56 42.92
(พันบาท)
รายได้ครัวเรือน ณ ราคาคงที่* (พันบาท) 4,861 7,535 7,256 10,031 2.94 5.53
รายได้ครัวเรือนต่อหัว ณ ราคาคงที่ (บาท) 1,029 2,329 1,565 3,415 598 1,455
หมายเหตุ * ปรับฐานราคาโดยใช้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในชนบท ณ ราคาปีฐาน 2550 (rural price index)
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ http://www.price.moc.go.th
ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจ
4.4 การวิเคราะห์รูปแบบพลวัตความยากจน
4.4.1 การวัดความยากจน
ในการศึกษาพลวัตการเปลี่ยนแปลงความยากจน จำเป็นต้องเริ่มจากการคำนวณ
ระดับความยากจนเพื่อวัดว่าครัวเรือนใดบ้างตกอยู่ในความยากจน หรือครัวเรือนใดที่ไม่ได้อยู่ใน
ความยากจน งานวิจัยนี้เลือกใช้วิธีการวัดความยากจนแบบสัมบูรณ์ (absolute poverty)
โดยอาศัยเครื่องชี้วัดจากข้อมูลรายได้ของครัวเรือนที่เก็บจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม 20
20 หลายการศึกษาระบุว่าโดยทั่วไปการวัดความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาควรจะใช้ค่าใช้จ่ายเป็นตัววัดความยากจน
มากกว่าการใช้รายได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของครัวเรือนมักจะต่ำกว่าความเป็นจริงและมีความผันผวนกว่า
ในขณะที่ครัวเรือนจะจดจำข้อมูลรายจ่ายได้แม่นยำกว่า และข้อมูลรายจ่ายสะท้อนถึงแบบแผนการบริโภคได้ดีอย่างไรก็ดี
จุดอ่อนของการใช้ข้อมูลรายจ่ายก็คืออาจมีการบันทึกรายจ่าย เพื่อซื้อสินค้าถาวรที่เกิดขึ้นในปีนั้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึง
อายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ ด้วย (Deaton and Grosh, 2000; สมชัย จิตสุชน, 2001, World Bank, 2009)
98 สถาบันคลังสมองของชาติ