Page 95 -
P. 95
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของการเช่าที่ดินของครัวเรือน
ชาวนาในพื้นที่ชนบทของประเทศที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี พบว่ามีความแตกต่าง
ระหว่างรูปแบบการถือครองที่ดินระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคกลาง
ซึ่งมีสัดส่วนครัวเรือนเช่าที่ดินผู้อื่นเพื่อทำการเกษตรในสัดส่วนที่มากกว่า ในขณะที่มีสัดส่วนให้
ผู้อื่นเช่าที่ดินน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจาก
ภาคกลางมีผลผลิตจากการปลูกข้าวต่อพื้นที่ดีกว่า จึงทำให้ครัวเรือนไม่นิยมให้ผู้อื่นเช่าที่ดินของ
ตัวเอง และในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะเช่าที่ผู้อื่นทำเพิ่มเติมด้วย โดยสัดส่วนเช่าที่ดินผู้อื่น
ของภาคกลางเพิ่มขึ้นจากปี 2531 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 12 ขณะที่สัดส่วนให้ผู้อื่นเช่าที่ดินเพียง
ร้อยละ 2.8 ของครัวเรือนทั้งหมด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนครัวเรือนเช่าที่ดินของ
ผู้อื่นร้อยละ 9.8 และให้ผู้อื่นเช่าที่ดินของตัวเองร้อยละ 6 ของครัวเรือนทั้งหมด
ตารางที่ 4.10 ประเภทการถือครองที่ดิน
ทั้งประเทศ ภาคกลาง ภาคอีสาน
2531 2552 2531 2552 2531 2552
ครัวเรือนทั้งหมด 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ที่ดินของตัวเอง 90.4 80.0 89.7 79.4 91.0 80.5
ที่ดินของตัวเอง (แต่ไม่ทำการเกษตร) 0.0 7.5 0.0 12.1 0.0 3.8
ไม่มีที่ดิน ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทำการเกษตร 9.6 10.8 10.3 12.1 9.0 9.8
ไม่มีที่ดิน (ประกอบอาชีพนอกเกษตร) 0.0 4.6 0.0 5.6 0.0 3.8
ให้ผู้อื่นเช่าที่ดิน 0.0 4.6 0.0 2.8 0.0 6.0
ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจ
หากพิจารณาการประเภทการเช่าที่ดิน โดยคำนวณจากสัดส่วนที่ดินทำการเกษตรทั้งหมด
พบว่า ที่ดินเช่าโดยจ่ายค่าเช่าแบบคงที่ (leasehold tenancy) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14
เป็นร้อยละ 24 ในปี 2552 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งสองภูมิภาค ขณะที่ที่ดินแบบแบ่งสัดส่วนผลผลิต
(sharecropping tenancy) กลับมีสัดส่วนลดลงมากทั้งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื่องจากการแบ่งสัดส่วนผลผลิตเมื่อคิดเป็นอัตราค่าเช่าแล้วจะอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อเทียบกับ
การจ่ายค่าเช่าแบบคงที่ ส่งผลให้การเช่าที่ดินแบบคิดค่าเช่าคงที่ได้รับความนิยมมากขึ้น (ตารางที่
4.11)
94 สถาบันคลังสมองของชาติ