Page 91 -
P. 91

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                     ในขณะที่พื้นที่ทำการเพาะปลูกข้าว  (cultivated land area) มีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 29.4 ไร่
                                               15
               เป็น 35 ไร่ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคกลาง ซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ปีละ
               มากกว่าสองครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานที่ปลูกข้าวได้ห้าครั้งในสองปีเนื่องจากมีปริมาณ
               น้ำเพียงพอและเข้าถึงที่นาตลอดทั้งปีนอกจากนี้จะเห็นว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ทำการเกษตรในพื้นที่
               ชลประทานมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2531 โดยครัวเรือนชาวนาในภาคกลางมีสัดส่วนการทำเกษตร
               ในพื้นที่ชลประทานสูงร้อยละ 70 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีครัวเรือนในเขตพื้นที่
               ชลประทานเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 41.6 ของพื้นที่ทั้งหมด 16

                     นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของครัวเรือนชาวนาไทยในชนบทยังปรับตัวดีขึ้นใน
               ช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากผลผลิตข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้นในทั้งสองภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการที่
               เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวในที่นาได้มากกว่าปีละหนึ่งครั้งดังเช่นในอดีต โดยเฉพาะพื้นที่
               ชลประทานและพื้นที่นาน้ำท่วมในภาคกลางที่สามารถปลูกข้าวได้มากกว่าสองครั้งต่อปี เนื่องจาก
               ปริมาณน้ำที่เพียงพอ รวมถึงผลจากการใช้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่สามารถปลูกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบ
               ปีและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง ประกอบกับการเปลี่ยนแบบแผนและช่วงเวลาในการปลูกข้าว
               ในบางพื้นที่ และการใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต
               (สมพร อิศวิลานนท์, 2552)


               ตารางที่  4.5 ขนาดที่ดิน



                                                ทั้งประเทศ     ภาคกลาง       ภาคอีสาน

                                              2531   2552   2531    2552   2531   2552
                 ขนาดฟาร์ม (ไร่)              26.9    21.9   38.1   35.0   15.6    9.4
                 ขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าว (ไร่)   29.4   35.0   44.4   59.4   15.0   11.3
                 ขนาดพื้นที่มีชลประทาน
                 (% ต่อพื้นที่รวม)            53.7    67.4   55.9   70.4   37.6    41.6
                 ความถี่ในการปลูกข้าว (ครั้งต่อปี)   1.4   1.7   1.5   1.9   1.3   1.5
                 ผลผลิตข้าว (กิโลกรัมต่อไร่)   365.3   420.0   396.3   426.8   334.3   413.2


               ที่มา:  ข้อมูลจากการสำรวจ



               15  พื้นที่เพาะปลูกข้าวในที่นี้รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ปลูกข้าวทั้งนาปี และนาปรัง
               16  พื้นที่ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ในจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเป็นตัวแทน ของภาคกลาง และ 3 หมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็น
                 ตัวแทนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ







               90 สถาบันคลังสมองของชาติ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96