Page 109 -
P. 109

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



               ตารางที่  4.16  (ต่อ)



                                                 จนครั้งคราว

                                 จนเรื้อรัง  ออกจาก      เข้าสู่    ไม่เคยจน    รวม
                                            ความจน      ความจน

                               2531  2552  2531  2552  2531  2552  2531  2552  2531  2552
                มหาวิทยาลัย     0.0   0.0   1.0   12.0  0.0   0.0   1.0   14.0   1.2   8.6
                (รวม ปวช/ปวส)

                มัธยมศึกษาตอน   2.0   29.0   6.0   28.0  2.0   28.0   9.0   29.0   7.8   28.1
                ต้นและปลาย
                สูงกว่ามัธยมศึกษา   1.0   10.0   3.0   23.0  2.0   11.0   4.0   26.0   3.6   21.4
                ตอนต้น

               ที่มา:  ข้อมูลจากการสำรวจ



                     สำหรับปัจจัยทางด้านแรงงานและการประกอบอาชีพ แสดงให้เห็นว่าเป็นปัจจัยที่มีความ
               สัมพันธ์ต่อกลุ่มพลวัตความยากจนแต่ละกลุ่มเช่นกัน แต่ความสัมพันธ์มักจะแตกต่างกันไปตาม
               แต่ละประเทศ (McKay and Lawson, 2003) อาทิเช่น ผลการศึกษาในประเทศอูกันดา พบว่าการ
               ประกอบอาชีพเกษตรกรทำงานในฟาร์มของตัวเองมีแนวโน้มที่จะทำให้ครัวเรือนตกอยู่ในความ

               ยากจนเรื้อรัง (Okidi and Kempaka, 2002) ในขณะที่ผลการศึกษาในประเทศเปรู พบว่าการ
               ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความยากจน
               เรื้อรัง (Campa and Webb, 1999) จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครัวเรือนชาวนาในชนบท
               ของประเทศไทยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มครัวเรือนยากจนเรื้อรังมีสัดส่วนของหัวหน้าครัวเรือน
               ที่เปลี่ยนจากภาคเกษตรไปเป็นนอกภาคเกษตรต่ำสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น และต่ำกว่าระดับเฉลี่ย
               ของประเทศโดยรวม และเมื่อแยกตามประเภทการประกอบอาชีพของสมาชิกในครัวเรือนในกำลัง
               แรงงาน พบว่า ครัวเรือนในกลุ่มยากจนเรื้อรังยังคงมีสัดส่วนของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสูงใน

               ขณะที่มีสัดส่วนผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวต่ำ และหากพิจารณากลุ่มยากจนครั้งคราว พบว่ามีความ
               แตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มออกจากความยากจนและกลุ่มเข้าสู่ความยากจน โดยกลุ่มออก













               108 สถาบันคลังสมองของชาติ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114